วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
พระอุรุเวลกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก
พระอุรุเวลกัสสปเถระ เกิดในตระกูลพราหมณ์กัสสปโคตร มีน้องชาย ๒ คน ชื่อ
กัสสปะ เหมือนกัน เมื่อเจริญวัยขึ้นมา ได้ศึกษาจบไตรเพท คือ พระเวท ๓ อย่าง ซึ่งเป็นคัมภีร์
ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของพราหมณ์ ได้แก่
๑. ฤคเวท (อรุพเพท) ประมวลบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า
๒. ยชุรเวท (ยชุพเพท) บทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่าง ๆ
๓. สามเวท ประมวลบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ
ต่อมาได้เพิ่มอถรรพเวท หรืออาถรรพเวท อันว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์เข้ามาอีก
จึงเป็น ๔ เรียกว่า จตุเพทางคศาสตร์
กัสสปะ พี่ชายคนโตนั้นมีบริวาร ๕๐๐ คน กัสสปะ คนกลาง มีบริเวณ ๓๐๐ คน และ
กัสสปะ คนเล็กสุดท้าย มีบริวาร ๒๐๐ คน
บวชเป็นฤาษีชฎิล
ต่อมาทั้งสามพี่น้องมีความเห็นตรงกันว่า “ลัทธิที่พวกตนนับถืออยู่นั้นไม่มีแก่นสาร”
จึงพากันออกบวชเป็นฤาษีชฎิล เกล้าผมเซิง บำเพ็ญพรตบูชาไฟตั้งอาศรมอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ เน
รัญชรา ตามลำดับกัน
พี่ชายคนโต ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำตอนเหนือ ณ ตำบลอุรุเวลา จึงได้ชื่อว่า
“อุรุเวลกัสสปะ” น้องชายคนกลาง ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำถัดไป ณ ตำบลนที จึงได้ชื่อว่า
“นทีกัสสปะ” ส่วนน้องชายคนเล็ก ตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำ ณ ตำบลคยา จึงได้ชื่อว่า “คยากัสสปะ”
เมื่อพระพุทธองค์ ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว และจำพรรษาแรกที่ป่าอิสิปตน
มฤคทายวัน ในพรรษานั้นมีพระสงฆ์สาวกผู้สำเร็จพระอรหันต์ จำนวน ๖๐ รูป เมื่อออก
พรรษาปวารณาแล้ว พระบรมศาสดาได้ส่งพระสาวกทั้ง ๖๐ รูปนั้น ออกไปเผยแผ่พระพุทธ
ศาสนายังถิ่นต่าง ๆ ส่วนพระองค์เองเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ในระหว่างทาง เสด็จเข้าไปประทับพักผ่อนภายใต้ร่มไม้ริมทางในไร่ฝ้าย ขณะนั้นมีพระ
ราชกุมาร ๓๐ พระองค์ ผู้ได้นามว่า “ภัททวัคคีย์” ได้พาภรรยาไปเที่ยวหาความสุขสำราญใน
ราชอุทยาน ราชกุมารองค์หนึ่งไม่มีภรรยา จึงพาหญิงโสเภณีไปเป็นคู่เที่ยว เมื่อพวกราชกุมาร
กำลังเพลิดเพลินสนุกสนานกันอยู่นั้น หญิงโสเภณีได้ขโมยของมีค่าหนีไป พวกราชกุมารออกติด
ตามมา ได้พบพระผู้มีพระภาคที่ไร่ฝ้าย จึงเข้าไปเฝ้าแล้วกราบทูลถามว่า:-
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์เห็นหญิงคนหนึ่งผ่านมาทานี้บ้างหรือไม่ พระเจ้าข้า ?"
“พวกท่านเห็นว่า การแสวงหาหญิงกับการแสวงหาสิ่งประเสริฐในตนสิ่งไหนจะดีกว่า
กัน ?"
“แสวงหาสิ่งประเสริฐในตนดีกว่า พระเจ้าข้า”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงนั่งลง ตถาคตจะแสดงธรรมให้ฟัง”
พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้ฟัง จนทั้งหมดได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล
ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบัน ถึงชั้นพระสกทาคามี และพระอนาคามีทุกพระองค์ จากนั้น พระพุทธ
องค์ประทานการอุปสมบทให้แล้ว ส่งไปประกาศพระพุทธศาสนา
พระบรมศาสดา เสด็จต่อไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เสด็จเข้าไปยังสำนักของ
อุรุเวลกัสสปะ ตรัสขอพักอาศัยสักหนึ่งราตรี แต่อุรุเวลกัสสปะ เห็นว่าเป็นนักบวชต่างลัทธิ จึง
บ่ายเบี่ยงว่าไม่มีสถานที่ให้พัก พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า:-
“ธรรมดาว่าโคย่อมเข้าไปสู่ฝูงโค นักบวชก็ย่อมเข้าไปสู่สำนักของนักบวช ถ้าท่านไม่มี
ความหนักใจ ตถาคตจะขอพักอาศัยอยู่ในโรงไฟ ซึ่งเป็นที่บูชายัญของท่านนั้น”
“ดูก่อนมหาสมณะ เรามิได้หนักใจ ถ้าท่านจะพักในที่นั้น แต่ว่ามีพญานาคดุร้ายและมี
พิษมาก อยู่ในโรงไฟนั้น เกรงว่าท่านจะได้รับอันตรายถึงชีวิตก็ได้”
เมื่ออุรุเวลกัสสปะไม่ขัดข้อง พระพุทธองค์จึงเสด็จเข้าไปในโรงไฟ ทรงพิจารณาตรวจดู
สถานที่อันสมควรแล้ว ประทับนั่งสมาธิเจริญกรรมฐาน
ฝ่ายพญานาค เห็นผู้แปลกหน้าผิดกลิ่นเข้ามาในโรงไฟของตนก็โกรธ จึงพ่นพิษออกมา
เป็นควันไฟอบอวลทั่วทั้งโรงไฟ หวังจะทำอันตรายให้สิ้นชีวิต แต่พระพุทธองค์ทรงแสดง
พุทธานุภาพให้ปรากฏ ด้วยการบันดาลให้ควันไฟกลับไปสัมผัสเนื้อ หนัง เอ็น และกระดูกของ
พญานาค ทำให้ฤทธิ์เดชของพญานาคเหือดหายไป บังเกิดความเจ็ดปวดขึ้นมาแทน
อุรุเวลกัสสปะ ละลัทธิเดิม
ในราตรีนั้น พระพุทธองค์ทรงทรมานพญานาค ด้วยวิธีต่าง ๆ ทรงเข้าเตโชกสิณสมาบัติ
บันดาลให้เปลวไฟรุ่งโรจน์โชตนาการทั่วโรงไฟ เหล่าชฎิลทั้งหลายต่างมองดูด้วยความดีใจว่า
“พระสมณะ คงจะวอดวาย ในกองเพลิงด้วยพิษของพญานาค อย่างแน่นอน” ในที่สุด พระพุทธ
องค์ ก็ทรงปราบพญานาค จนสิ้นฤทธิ์โดยสิ้นเชิงแล้วจับเอาลงไปขดไว้ในบาตร
รุ่งเช้า อุรุเวลกัสสปะ พาศิษย์ชฎิลมาตรวจดู เมื่อเป็นเหตุการณ์เช่นนั้นจึงคิดว่า “พระ
สมณะนี้ มีอานุภาพมาก สามารถปราบพญานาคให้พ่ายแพ้ได้ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมิได้เป็นพระ
อรหันต์เหมือนเรา” คิดดังนี้แล้ว จงยังมิยอมรับนับถือ แต่ก็รู้สึกเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์ และ
นิมนต์ให้พักอยู่ต่อไปได้ โดยพวกตนจะเป็นผู้นำอาหารมาถวายทุกวัน
วันต่อมา พระพุทธองค์เสด็จเข้าไปประทับที่ชายป่าใกล้ ๆ อาศรมของอุรุเวลกัสสปะ
นั้น ในยามราตรีของแต่ละคืน ได้มีทวยเทพเทวาตั้งแต่ชั้น จาตุมหาราชทั้ง ๔ ท้าว โกสีย์เทวราช
และท้าวสหัมบดีรพรหม ต่างก็มาเข้าเฝ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ได้เปล่งรัศมีแสงสว่างทั่วทั้ง
ไพรสณฑ์ ยังความฉงนสนเท่ห์ให้เกิดแก่อุรุเวลกัสสปะ และบริวารเป็นอย่างยิ่ง ครั้นรุ่งเช้า ได้
กราบทูลถามเหตุที่มาของแสงสว่างนั้น ครั้นได้ทราบความตลอดแล้วรู้สึกศรัทธาเลื่อมใสและ
ดำริอยู่ในใจว่า
“อานุภาพของพระสมณโคดมนี้ยิ่งใหญ่หาผู้เปรียบมิได้ แม้แต่เทพยาดาทุกชั้นฟ้า ยังมาเข้า
เฝ้าเพื่อขอฟังธรรม แต่ถึงจะยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตามก็ยังมิได้เป็นพระอรหันต์เหมือนเช่นเรา”
พระบรมศาสดา ทรงพักอยู่ในสำนักของอุรุเวลกัสสปะ เป็นเวลา ๒ เดือน ทรงแสดง
อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ทรมานอุรุเวลกัสสปชฎิล หลายประการ แต่อุรุเวลกัสสปะ ผู้มีสันดาน
กระด้าง มีทิฏฐิแรงกล้ายังถือตนเองว่าเป็นพระอรหันต์อยู่เช่นเดิม
พระพุทธองค์ทรงดำริว่า “ตถาคต จะยังโมฆบุรุษชฏิลนี้ ให้เกิดความสลดสังเวช” ดังนี้
แล้วจึงตรัสว่า:-
“ดูก่อนกัสสปะ ตัวท่านมิได้เป็นพระอรหันต์ ทางปฏิบัติของท่านยังห่างไกลต่อการ
สำเร็จเป็นพระอรหันต์ มิใช่ทางมรรคผลอันใดเลย ไฉนท่านจึงถือตนว่าเป็นพระอรหันต์ ท่าน
ลวงตนเองแล้วยังลวงคนอื่น ถ้าท่านรู้สึกสำนึกตัว และปฏิบัติตามคำสอนของเรา ท่านจะได้เป็น
พระอรหันต์ที่แท้จริงในไม่ช้า”
อุรุเวลกัสสปะ ได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้วก็รู้สึกสลดใจ ก้มศีรษะลงแทบพระบาทกราบ
ทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดา จึงตรัสแก่เธอว่า:-
“กัสสปะ ท่านเป็นอาจารย์เจ้าสำนักที่ยิ่งใหญ่ มีบริวารมากกว่า ๕๐๐ คน ท่านจงบอก
ให้บริวารของท่านทราบทั่วกันก่อน ตถาคตจึงจะอุปสมบท ให้ท่าน”
อุรุเวลกัสสปะ จึงประกาศชักชวนชฎิลบริวารของตนทั้งหมด พากันลอยบริขารดาบส มี
เครื่องแต่งผมเป็นชฎา และเครื่องบูชาเพลิง เป็นต้น ลงในแม่น้ำแล้วทูลขออุปสมบท พระบรม
ศาสดา ประทานการอุปสมบทด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา พร้อมกันทั้งหมด
ฝ่าย นทีสัสสปะ และ คยากัสสปะ น้องชายทั้งสองคน ซึ่งตั้งอาศรมอยู่ที่คุ้งน้ำตอนใต้ลง
ไปตามลำดับ เห็นบริขารของพี่ชายลอยมาตามน้ำ ทำให้คิดว่า “อันตรายคงจะเกิดมีแก่พี่ชายของ
ตน” จึงพร้อมด้วยบริวารรีบมาที่สำนักของพี่ชาย เห็นพี่ชายอยู่ในเพศพระภิกษุ จึงสอบถามได้
ความว่า “พรหมจรรย์นี้ประเสริฐยิ่งนัก” จึงพากันลอยบริขารลงในแม่น้ำแล้วขออุปสมบทด้วย
กัน ทั้งหมด
ฟังอาทิตตปริยายสูตร
พระพุทธองค์ ประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พอสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว จึง
เสด็จพร้อมด้วยหมู่ภิกษุชฎิลเหล่านั้น จำนวน ๑,๐๐๓ รูป ไปยัง ตำบลคยาสีสะ และประทับอยู่
ณ ที่นั้น ทรงพิจารณาเห็นอินทรีย์ของภิกษุใหม่ แก่กล้าแล้ว จึงตรัสเรียกท่านเหล่านั้นมาประชุม
พร้อมกันแล้วตรัสพระธรรมเทศนา “อาทิตตปริยายสูตร” ทรงเปรียบเทียบสิ่งทั้งปวงเป็นของ
ร้อนดุจเดียวกับไฟเพื่อให้เหมาะสมกับอัธยาศัยของพวกเธอ ที่เคยบูชาไฟมาก่อน ทรงแสดงถึง
อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เป็นของร้อน และความรู้สึกว่าเป็นสุขเป็นทุกข์
ไม่สุข ไม่ทุกข์ เพราะตาเห็นรูป หรือหูได้ยิน เป็นต้น ก็เป็นของร้อน
ใจความโดยสรุปก็คือ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายได้สัมผัส
และใจกระทบอารมณ์ แล้วทำให้เกิดความเร่าร้อน ร้อนเพราะราคา โทสะ และโมหะ เป็นต้น ผู้
ได้สดับและรู้เท่าทันกิเลสเหล่านี้แล้วย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งปวง เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
เมื่อคลายกำหนัดแล้ว จิตก็ไม่ยึดมั่นไม่ถือมั่นสิ่งเหล่านั้น
ขณะที่พระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่นั้น ภิกษุชฎิล ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ส่ง
กระแสจิตไปตามวาระแห่งพระธรรมเทศนา จิตของพวกเธอ ก็หลุดพ้นจากกิเลสาสวะทั้งปวง
สำเร็จป็นพระอรหันต์ขีณาสพด้วยกันทั้งหมด
ตามเสด็จโปรดพระเจ้าพิมพิสาร
พระอุรุเวลกัสสปะ เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้ช่วยกิจการพระพุทธศาสนา
และช่วยแบ่งเบาภาระของพระบรมศาสดา ได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อสำเร็จเป็นพระ
อรหันต์ใหม่ ๆ ได้ติดตามเสด็จพระบรมศาสดาไปสู่เมืองราชคฤห์ พระพุทธองค์ประทับ
ณ ลัฏฐิวันสวนตาลหนุ่ม พระเจ้า พิมพิสารทรงทราบ จึงพร้อมด้วยพราหมณ์ และคฤหบดีชาว
เมืองมคธ จำนวน ๑๒ นหุต เสด็จเข้ามาเฝ้า กราบถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วปะทับนั่ง ณ
ที่อันสมควรแก่พระองค์ ส่วนบริวารที่ติดตามมาเหล่านั้น ต่างก็แสดงกิริยาอาการต่าง ๆ กัน คือ
บางพวกก็ถวายบังคม บางพวกก็กราบทูลสนทนา บางพวกก็ประกาศชื่อและตระกูลของตน
บางพวกก็นั่งเฉย ๆ เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะคนเหล่านั้นยังไม่แน่ใจว่าระหว่างพระบรม
ศาสดากับอุรุเวลกัสสปะ นั้นใครเป็นศิษย์ใครเป็นอาจารย์กันแน่ เพราะว่า อุรุเวลกัสสปะ ก็เป็น
เจ้าสำนักใหญ่ มีคนเคารพนับถือมากมาย และได้รับยกย่องว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
พระพุทธองค์ทรงทราบวาระจิตความคิดของคนเหล่านั้นเป็นอย่างดี เพื่อปลดเปลื้อง
ความสงสัยของคนเหล่านั้น จึงตรัสถามพระอุรุเวลกัสสปะ ว่า:-
“กัสสปะ เธออยู่ในอุรุเวลาเสนานิคมมานาน เป็นอาจารย์สั่งสอนชฎิลให้บำเพ็ญพรต
จนซูบผอม เธอเห็นโทษอะไรหรือ จึงเลิกละการบูชานั้นเสีย?”
พระอุรุเวลกัสสปะ เมื่อได้ฟังพุทธดำรัสแล้ว ก็ทราบถึงพุทธประสงค์ดี จึงน้อมนมัสการ
กราบทูลว่า:-
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค การบูชายัญทั้งหลาย ล้วนแต่มีความมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งกาม
คุณ มีรูป เสียง กลิ่น รส และ สัมผัส อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็น
ของร้อน บัดนี้ ข้าพระองค์ ได้รู้ชัดแล้วว่า ความรักใคร่ พอใจในกามคุณเหล่านั้น เป็นมลทิน
ทำใจให้เศร้าหมอง ก่อให้เกิดกิเลส และความทุกข์ จึงละทิ้งการบูชาไฟนั้นเสีย บัดนี้ ข้าพระ
องค์ ได้เห็นธรรมอันสงบระงับแล้ว” พระเจ้าข้า ครั้นแล้ว พระเถระได้ซบศีรษะลงแทบพระบาท
ของพระพุทธองค์ แล้วประกาศว่า:-
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์เป็นศาสดาของข้าพระพุทธเจ้า ๆ เป็นสาวกของพระ
องค์”
จากกิริยาอาการและถ้อยคำของพระเถระนั้น ทำให้บริวารของพระเจ้าพิมพิสารทั้งหมด
เหล่านั้นหายสงสัย น้อมจิตลงที่ฟังพระธรรมเทศนา ดังนั้น พระบรมศาสดา จึงทรงแสดง
“อนุปุพพิกถา” และ “อริยสัจ ๔” ให้ฟัง
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวาร ๑๑ นหุตะ ได้บรรลุโสดา
ปัตติผล ส่วนอีก ๑ นหุตะ ดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ
ได้รับยกย่องในทางผู้มีบริวารมาก
พระอุรุเวลกัสสปะ เป็นผู้ประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม อันเป็นธรรมสำหรับผู้ใหญ่
ใช้ปกครองดูแลบริวารให้มีความสุข ซึ่งประกอบด้วย
๑. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข
๒. กรุณา ความสงสาร ปรารถนาจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
๓. มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
๔. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ
ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ และอีกทั้งรู้จักบำรุงจิตใจบริวารด้วยการสงเคราะห์ด้วยวัตถุสิ่งของ
และหลักธรรมะ จึงทำให้ท่านสามารถยึดเหนี่ยวจิตใจบริวารไว้ได้เป็นที่รักเคารพของบริวาร
และก็เป็นพุทธสาวกรูปเดียวที่มีบริวารมากที่สุด พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่ง
เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าพระสาวกทั้งปวง ในฝ่ายผู้มีบริวารมาก
ท่านดำรงอายุสังขารสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน
พระอัญญาโกณฑัญญะ
เอตทัคคะในทางรัตตัญญู
พระอัญญาโกณฑัญญะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ในหมู่บ้านโทณวัตถุ อันไม่ห่างไกล
จากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ “โกณฑัญญะ” เมื่อเจริญเติบโตขึ้นได้ศึกษาศิลปะวิทยาจบไตรเพท
และวิชาการทำนายลักษณะอย่างเชี่ยวชาญ
รวมทำนายพระลักษณะ
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะพระบิดา ได้เชิญพราหมณ์
๑๐๘ คน มาเลี้ยงโภชนาหารในพระราชนิเวศน์ เพื่อทำพิธีทำนายพระลักษณะ ตามราชประเพณี
ให้คัดเลือกพราหมณ์ผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษจาก ๑๐๘ คน เหลือ ๘ คน และมีโกณฑัญญะ
อยู่ในจำนวน ๘ คน นี้ด้วย ในบรรดาพราหมณ์ทั้ง ๘ คนนั้น โกณฑัญญะมีอายุน้อยที่สุดจึง
ทำนายเป็นคนสุดท้าย
ฝ่ายพราหมณ์ ๗ คนแรก ได้พิจารณาตรวจดูพระลักษณะของสิทธัตถะอย่างละเอียด
เห็นถูกต้องตามตำรามหาบุรุษลักษณะพยากรณ์ศาสตร์ ครบทุกประการแล้ว จึงยกนิ้วมือขึ้น ๒
นิ้ว เป็นสัญลักษณ์ในการทำนายเป็น 2 นัย เหมือนกันทั้งหมดว่า
“พระราชกุมารนี้ ถ้าดำรงอยู่ในเพศฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ปราบปราม
ได้รับชัยชนะทั่วปฐพีมณฑล จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก แนะ
นำสั่งสอนเวไนยสัตว์ โดยไม่มีศาสดาอื่นยิ่งไปกว่า”
ส่วนโกณฑัญญะพราหมณ์ ได้สั่งสมบารมีมาครบถ้วนตั้งแต่อดีตชาติ และการเกิดใน
ภพนี้ก็จะเป็นภพสุดท้าย จึงมีปัญญามากกว่าพราหมณ์ทั้ง ๗ คนแรก ได้พิจารณาตรวจดูพระ
ลักษณะของพระกุมาร โดยละเอียดแล้ว ได้ยกนิ้วขึ้นเพียงนิ้วเดียวเป็นการยืนยันการพยากรณ์
อย่างเด็ดเดี่ยวเป็นนัยเดียวเท่านั้นว่า
“พระราชกุมาร ผู้บริบูรณ์ด้วยมหาบุรุษลักษณะอย่างนี้ จะไม่อยู่ครองเพศฆราวาสอย่าง
แน่นอน จักต้องเสด็จออกบรรพชา และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมิต้องสงสัย”
ออกบวชติดตามสิทธัตถะ
ครั้นกาลเวลาล่วงเลยมาถึง ๒๙ ปี เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกบรรพชาโกณฑัญญะ
พราหมณ์ทราบข่าวก็ดีใจ เพราะตรงกับคำทำนายของตน จึงรีบไปชวนบุตรของพราหมณ์ทั้ง ๗
คนที่ร่วมทำนายด้วยกันนั้น โดยกล่าวว่า:-
“บัดนี้ เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ เสด็จออกบรรพชาแล้ว
พระองค์จักได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญเจ้าแน่นอน ถ้าบิดาของพวกท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็คงจะออก
บวชด้วยกันกับเรา ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะบวชก็จงบวชตามเสด็จพระมหาบุรุษพร้อมกัน
เถิด”
บุตรพราหมณ์เหล่านั้น ยอมออกบวชเพียง ๔ คน คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ
อัสสชิ โกณฑัญญะ จึงพามาณพทั้ง ๔ คนนั้นพร้อมทั้งตนด้วยรวมเป็น ๕ ได้นามบัญญัติว่า
“ปัญจวัคคีย์” ออกบวชสืบเสาะติดตามถามหาพระมหาบุรุษไปตามสถานที่ต่าง ๆ จนมาพบพระ
องค์กำลังบำเพ็ญความเพียรอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ด้วยความมั่นใจว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอย่างแน่นอน จึงพา
กันเข้าไปอยู่เฝ้าทำกิจวัตรอุปัฏฐาก ด้วยการจัดน้ำใช้ น้ำฉัน และ ปัดกวาดเสนาสนะ เป็นต้น
ด้วยหวังว่าเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จะได้แสดงธรรมโปรดพวกตนให้รู้ตามบ้าง
เมื่อพระมหาบุรุษ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างอุกฤษฏ์เป็นเวลาถึง ๖ ปี ก็ยังไม่ได้บรรลุ
พระโพธิญาณ จึงทรงพระดำริว่า “วิธีนี้คงจะไม่ใช่ทางตรัสรู้” จึงทรงเลิกละความเพียรด้วยวิธี
ทรมานกาย หันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต เลิกอดพระกระยาหาร กลับมาเสวยตามเดิม เพื่อบำรุง
พระวรกายให้แข็งแรง
ปัญจวัคคีย์ปลีกตัวหลีกหนี
ฝ่ายปัญจวัคคีย์ ผู้มีความเลื่อมใสในการปฏิบัติ แบบทรมานร่างกาย ครั้นเห็นพระ
โพธิสัตว์ละความเพียรนั้นแล้ว ก็รู้สึกหมดหวัง จึงพากันเหลีกหนีทิ้งพระโพธิสัตว์ ให้ประทับอยู่
ตามลำพังพระองค์เดียว พากันเที่ยวสัญจรไปพักอาศัยอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี
ครั้นพระโพธิสัตว์ ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงดำริพิจารณาหาบุคคลผู้
สมควรจะรับฟังพระปฐมเทศนา และตรัสรู้ตามได้โดยเร็วในชั้นแรก พระองค์ทรงระลึกถึง
อาจารย์ทั้งสองที่พระองค์เคยเข้าไปศึกษา คือ อาฬารดาบสกาลามโคตร แต่ได้ทราบว่าท่านได้ถึง
แก่กรรมไปได้ ๗ วัน แล้วและอีกท่านหนึ่ง คือ อุทกดาบสรามบุตร แต่ก็ได้ทราบด้วยพระญาณ
ว่าท่านเพิ่งจะสิ้นชีพไปเมื่อวันวานนี้เอง
ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ทรงระลึกถึง ปัญจวัคคีย์ ผู้ซึ่งเคยมีอุปการคุณแก่พระองค์เมื่อ
สมัยทำทุกรกิริยา และทรงทราบว่าขณะนี้ท่านทั้ง ๕ พักอาศัย อยู่ที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรง
ดิริดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จพุทธดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ฝ่ายปัญจวัคคีย์ นั่งสนทนากันอยู่ เห็นพระพุทธองค์เสด็จมาแต่ไกลเข้าใจว่า พระองค์
เสด็จมาเพื่อแสวงหาผู้อุปัฏฐาก จึงทำกติกากันว่า:-
“พระสมณโคดม นี้ คลายความเพียรแล้วเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก พวกเราไม่
ควรไหว้ ไม่ควรลุกขึ้นต้อนรับ ไม่รับบาตรและจีวรของพระองค์เลย เพียงแต่จัดอาสนะไว้ เมื่อ
พระองค์ปรารถนาจะประทับนั่ง ก็จงนั่งตามพระอัธยาศัยเถิด”
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จมาถึง ต่างพากันลืมกติกาที่นัดหมายกันไว้ กลับทำการต้อนรับ
เป็นอย่างดีดังที่เคยทำมา แต่ยังใช้คำทักทายว่า “อาวุโส” และเรียกพระนามว่า “โคดม” อันเป็น
ถ้อยคำที่แสดงความไม่เคารพ ดังนั้น พระพุทธองค์ทรงห้ามแล้วตรัสว่า:-
“อย่าเลย พวกเธออย่างกล่าวอย่างนั้น บัดนี้ ตถาคตได้บรรลุอมตธรรมเองโดยชอบแล้ว
เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังเถิด เราจะแสดงให้ฟัง เมื่อเธอปฏิบัติตามที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็จะบรรลุ
อมตธรรมนั้น”
“อาวุโสโคดม แม้พระองค์บำเพ็ญอย่างอุกฤษฏ์เห็นปานนั้น ก็ยังไม่บรรลุธรรมพิเศษอัน
ใด บัดนี้พระองค์คลายความเพียรนั้นแล้วหันมาปฏิบัติเพื่อความเป็นคนมักมาก แล้วจะบรรลุ
อมตธรรมได้อย่างไร?”
พระพุทธองค์ตรัสเตือนปัญจวัคคีย์ ให้ระลึกถึงความหลังว่า “ท่านทั้งหลายจำได้หรือไม่
ว่า วาจาเช่นนี้ เราเคยพูดกับท่านบ้างหรือไม่” ปัญจวัคคีย์ ระลึกขึ้นได้ว่า พระองค์ไม่เคยตรัสมา
ก่อนเลย จึงยินยอมพร้อมใจกันฟังพระธรรมเทศนาโดยเคารพ
ฟังปฐมเทศนา
พระพุทธองค์ ทรงประกาศพระสัพพัญญุตญาณแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ โดยตรัสพระ
ธรรมจักรกัปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา ซึ่งเนื้อความในพระธรรมเทศนานี้ พระพุทธองค์ทรง
ตำหนิหนทางปฏิบัติอันไร้ประโยชน์ ๒ ทาง ที่บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
๑ กามสุขัลลิกานุโยค การปฏิบัติที่ย่อหย่อนเกินไป แสวงหาแต่กามสุขอันพัวพันหมก
มุ่นแต่รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ซึ่งเป็นสิ่งเลวทราม เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นกิจของ
คนกิเลสหนา มิใช่ของพระอริยะ มิใช่ทางตรัสรู้หาประโยชน์มิได้
๒ อัตตกิลมถานุโยค การปฏิบัติตนให้ได้รับความลำบาก เคร่งครัดเกินไป กระทำตน
ให้ได้รับความทุกข์ทรมาน เป็นการกระทำที่เหนื่อยเปล่า ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่ทางแห่งความ
หลุดพ้น
จากนั้น พระพุทธองค์ตรัสชี้แนะวิธีปฏิบัติ แบบ “มัชฌิมาปฏิปทา” คือ การปฏิบัติแบบ
กลาง ๆ ไม่ย่อหย่อนเกินไปแบบประเภทที่หนึ่ง และไม่ตึงเกินไป แบบประเภทที่สอง ดำเนินตาม
ทางสายกลางซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค คือทางอัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ได้แก่
๑ สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ (ปัญญาเห็นในอริยสัจ ๔)
๒ สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ (ดำริออกจากกาม เบียดเบียนพยายาม)
๓ สัมมาวาจา เจรจาชอบ (เว้นจากวจีทุจริต ๔)
๔ สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ (เว้นจากกายทุจริต ๓)
๕ สัมมาอาชีพ เลี้ยงชีพชอบ (เว้นจากเลี้ยงชีพในทางที่ผิด)
๖ สัมมาวายะมะ เพียรชอบ (เพียรละความชั่วทำความดี)
๗ สัมมาสติ ระลึกชอบ (ระลึกในสติปัฏฐาน ๔)
๘ สัมมาสมาธิ ตั้งจิตไว้ชอบ (เจริญฌานทั้ง ๔)
เมื่อจบพระธรรมเทศนา ธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน เกิดขึ้น
แก่โกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็น
ธรรมดา”
พระพุทธองค์ ทรงทราบว่า โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบันบุคคลใน
พระพุทธศาสนาแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานด้วยความพอพระทัยด้วยพระดำรัสว่า:-
“อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ” ซึ่งแปลว่า “โกณฑัญญะ
ได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ” ด้วยพระพุทธดำรัสนี้ คำว่า “อัญญา” จงเป็นคำนำหน้า
ชื่อของท่าน โกณฑัญญะ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนเป็นที่รู้ทั่วกันว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ
พระสงฆ์รูปแรกในพุทธศาสนา
ต่อจากนั้น ท่านได้กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทให้ด้วย
พระดำรัสว่า:-
“เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่
สุดทุกข์โดยชอบเถิด”
ด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้ โกณฑัญญะ ก็สำเร็จเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา นับว่า
เป็นพระสงฆ์รูปแรกในโลก และการอุปสมบทด้วยวิธีนี้เรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”
วันต่อ ๆ มา ท่านที่เหลืออีก ๔ คน ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน และอุปสมบทด้วยกันทั้ง
หมด พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระปัจวัคคีย์ มีญาณแก่กล้า พอที่จะบรรลุธรรมเบื้องสูง
ได้แล้ว จึงตรัสพระธรรมเทศนา “อนัตตลักขณสูตร” คือสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่า
เป็นอนัตตาความไม่มีตัวตน โปรดพระปัญจวัคคีย์ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระ
อรหัตผล เป็นพระอเสขบุคคลด้วยกันทั้งหมด ขณะนั้น มีพระอรหันต์ เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์
รวมทั้งพระบรมศาสดาด้วย
ได้รับยกย่องทางรัตตัญญู
พระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว พระพุทธองค์ทรงส่งออกไป
ประกาศพระศาสนาพร้อมกับพระสาวกรุ่นแรก จำนวน ๖๐ รูป ท่านได้เดินทางไปยังบ้านเดิม
ของท่าน ได้นำหลานชายชื่อ ปุณณมันตานี ซึ่งเป็นบุตรของ นางมันตานี ผู้เป็นน้องสาวของท่าน
มาบวช และได้มีชื่อว่า พระปุณณมันตานีบุตรเถระ
เพราะความที่ท่านเป็นพระเถระ ผู้มีอายุพรรษากาลมาก มีประสบการณ์มาก จึงได้รับยก
ย่องจากพระบรมศาสดา ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลายในทาง ผู้รัตตัญญู
หมายถึง ผู้รู้ราตรีนาน
บั้นปลายชีวิต
พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระเถระผู้เฒ่า ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบหลีกเร้น
อยู่ในสถานที่อันสงบวิเวกตามลำพัง ในคัมภีร์มโนรถปูรณี และคัมภีร์ธุรัตวิลาสินี กล่าวไว้ตรง
กันว่า เป็นเวลา ๑๒ ปี ก่อนที่ท่านจะนิพพานท่านได้กราบทูลลาพระบรมศาสดาไปจำพรรษา ณ
ป่าหิมพานต์ ตามลำพัง นอกจากต้องการความสงบดังกล่าวแล้ว ยังมีเหตุผลส่วนตัวของท่าน อีก
๓ ประการคือ
๑ ท่านไม่ประสงค์จะเห็นพระอัครสาวก คือ พระสารีบุตรเถระ และพระมหาโมคคัล
ลานเถระ ผู้เป็นกำลังสำคัญในการช่วยแบ่งเบาภาระของพระพุทธองค์ กิจการพระศาสนาด้าน
ต่าง ๆ ที่ต้องมาแสดงความเคารพนอบน้อมต่อพระผู้เฒ่าชราอย่างท่าน ซึ่งสังขารนับวันจะร่วงโรย
และใกล้แตกดับเข้าไปทุกขณะ
๒ ท่านได้รับความเหน็ดเหนื่อยอย่างมาก ที่ต้องคอยต้อนรับผู้ไปมาหาสู่ ซึ่งมีทั้ง
บรรพชิตและคฤหัสถ์ การอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านจึงไม่เหมาะสมสำหรับพระแก่ชราอย่างท่าน
๓ ท่านเบื่อหน่ายในความดื้อรั้น ของพระสัทธิวิหาริกรุ่นหลัง ๆ ที่มักประพฤตินอกลู่
นอกทาง ห่างไกลจากการบรรลุมรรคผล
ท่านได้อยู่จำพรรษา ในป่าหิมพานต์ บริเวณใกล้สระฉัททันต์ เป็นเวลานาน ๑๒ ปี วันที่
ท่านจะนิพพาน ท่านพิจารณาอายุสังขารแล้ว ได้มาเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อกราบทูลลานิพพาน
ครั้นพระพุทธองค์ประทานอนุญาตแล้ว ท่านเดินทางกลับยังป่าหิมพานต์ และนิพพานใน
บรรณศาลาที่พักริมสระฉัททันต์นั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกจำนวนมาก ได้
เสด็จไปทำฌาปนกิจศพให้ท่าน
อานิสงส์ถวายดอกไม้ธูปเทียน
......ในครั้งพุทธกาลก็มีผู้กระทำมาแล้วย่อมมีผลานิสงส์อย่างอเนกประการ คือ นายสุมนมาลาการ
มีเรื่องอยู่ว่านายสุมนมาลาการนี้ เก็บดอกมะลิมาถวายพระเจ้าพิมพิสารวันละ
๘ ทะนาน และรับเงิน ๘ กหาปณะต่อวัน ขณะที่เขาเก็บดอกไม้อยู่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก
บิณฑบาตภายในพระนคร พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป เป็นบริวาร นายสุมนมาลาการเห็นก็เกิด
จิตเลื่อมใสคิดอยากจะทำบุญแก่พระตถาคต แต่ไม่เห็นอย่างอื่นนอกจากดอกไม้ จึงเอาดอกไม้เหล่านั้น
บูชาพระองค์ โดยไม่เกรงกลัวพระราชาจะทรงกริ้วโกรธ ถึงแม้จะถูกพระราชาประหารชีวิตก็ยอมตาย
การบูชาดอกไม้ของนายมาลาการได้กระทำซัดดอกไม้ขึ้นไปในเบื้องบน ของพระตถาคต ๒ กำมือ ดอก
ไม้เกิดอัศจรรย์ขึ้นไปประดิษฐานเบื้องบนเป็นเพดานกั้นพระเศียรพระตถาคต แล้วก็ซัดไปทาง
พระหัตถ์ขวา ๒ กำด้านพระปฤษฎางค์ ๒ กำ พระหัตถ์ซ้าย ๒ กำ รวมทั้งหมด ๘ กำดอกไม้เหล่านั้นได้
เกิดอัศจรรย์แวดล้อมพระตถาคตอยู่ตลอดเวลานายมาลาการเห็นดังนั้นก็ยินดียิ่งนัก ได้ถือกระเช้าเปล่า
ไปเรือนฝ่ายภรรยาเห็นไม่มีดอกไม้ในกระเช้านายมาลาการบอกแก่ภรรยาว่าได้เอาดอกไม้บูชาพระ
ตถาคตแล้วนางได้ตอบว่าธรรมดาพระราชาเป็นผู้ดุร้าย กริ้วคราวเดียวก็ทำความพินาศให้ถึงความตาย
ดังนั้นความพินาศนี้พึงมีแก่เรา เพราะเธอได้ทำกรรมไว้
มีเรื่องอยู่ว่านายสุมนมาลาการนี้ เก็บดอกมะลิมาถวายพระเจ้าพิมพิสารวันละ
๘ ทะนาน และรับเงิน ๘ กหาปณะต่อวัน ขณะที่เขาเก็บดอกไม้อยู่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก
บิณฑบาตภายในพระนคร พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป เป็นบริวาร นายสุมนมาลาการเห็นก็เกิด
จิตเลื่อมใสคิดอยากจะทำบุญแก่พระตถาคต แต่ไม่เห็นอย่างอื่นนอกจากดอกไม้ จึงเอาดอกไม้เหล่านั้น
บูชาพระองค์ โดยไม่เกรงกลัวพระราชาจะทรงกริ้วโกรธ ถึงแม้จะถูกพระราชาประหารชีวิตก็ยอมตาย
การบูชาดอกไม้ของนายมาลาการได้กระทำซัดดอกไม้ขึ้นไปในเบื้องบน ของพระตถาคต ๒ กำมือ ดอก
ไม้เกิดอัศจรรย์ขึ้นไปประดิษฐานเบื้องบนเป็นเพดานกั้นพระเศียรพระตถาคต แล้วก็ซัดไปทาง
พระหัตถ์ขวา ๒ กำด้านพระปฤษฎางค์ ๒ กำ พระหัตถ์ซ้าย ๒ กำ รวมทั้งหมด ๘ กำดอกไม้เหล่านั้นได้
เกิดอัศจรรย์แวดล้อมพระตถาคตอยู่ตลอดเวลานายมาลาการเห็นดังนั้นก็ยินดียิ่งนัก ได้ถือกระเช้าเปล่า
ไปเรือนฝ่ายภรรยาเห็นไม่มีดอกไม้ในกระเช้านายมาลาการบอกแก่ภรรยาว่าได้เอาดอกไม้บูชาพระ
ตถาคตแล้วนางได้ตอบว่าธรรมดาพระราชาเป็นผู้ดุร้าย กริ้วคราวเดียวก็ทำความพินาศให้ถึงความตาย
ดังนั้นความพินาศนี้พึงมีแก่เรา เพราะเธอได้ทำกรรมไว้
นางได้อุ้มลูกไปเฝ้าพระราชาทูลขอหย่ากับ นายมาลาการกับพระองค์
พระราชาทรงทราบความต่ำทราม แห่งจิตของนาง แล้วก็ทำเป็นกริ้วและอนุญาต
ให้นางหย่ากับนายมาลาการ แล้วพระราชาได้เสด็จไปสู่สำนักพระศาสดาถวายบังคมทูลอาราธนา
พระศาสดาไปรับภัตตาหารในพระราชวังพระศาสดาทรงทราบพระราชหฤทัยของพระราชา พระองค์
ทรงรับอาราธนาแล้วเสด็จไปสู่พระราชวังของพระราชา แต่พระศาสดาทรงพระประสงค์ จะประทับที่
พระลานหลวง จะประกาศคุณงามความดีของนายมาลาการพระราชาทรงอังคาส พระศาสดาพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามส่งเสด็จพระศาสดาไปสู่วิหารเสด็จกลับมาตามนายมาลาการ ถวายถึง
สาเหตุที่ถวายดอกไม้แก่พระศาสดา พอทราบเรื่องแล้วทรงพระราชทานรางวัลอย่าง ๘ ชนิด
มีช้าง ๘ เชือก ม้า ๘ ตัว ทาส ๘ คน ทาสี ๘ คน กหาปณะ ๘ พัน นารี ๘ นาง และเครื่องประดับอย่าง
ละ ๘ และบ้านส่วยอีก ๘ หมู่บ้านเป็นอันว่ากรรมดีได้สนองผลให้แก่นายสุมนมาลาการในวันนั้นเอง
พระราชาทรงทราบความต่ำทราม แห่งจิตของนาง แล้วก็ทำเป็นกริ้วและอนุญาต
ให้นางหย่ากับนายมาลาการ แล้วพระราชาได้เสด็จไปสู่สำนักพระศาสดาถวายบังคมทูลอาราธนา
พระศาสดาไปรับภัตตาหารในพระราชวังพระศาสดาทรงทราบพระราชหฤทัยของพระราชา พระองค์
ทรงรับอาราธนาแล้วเสด็จไปสู่พระราชวังของพระราชา แต่พระศาสดาทรงพระประสงค์ จะประทับที่
พระลานหลวง จะประกาศคุณงามความดีของนายมาลาการพระราชาทรงอังคาส พระศาสดาพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามส่งเสด็จพระศาสดาไปสู่วิหารเสด็จกลับมาตามนายมาลาการ ถวายถึง
สาเหตุที่ถวายดอกไม้แก่พระศาสดา พอทราบเรื่องแล้วทรงพระราชทานรางวัลอย่าง ๘ ชนิด
มีช้าง ๘ เชือก ม้า ๘ ตัว ทาส ๘ คน ทาสี ๘ คน กหาปณะ ๘ พัน นารี ๘ นาง และเครื่องประดับอย่าง
ละ ๘ และบ้านส่วยอีก ๘ หมู่บ้านเป็นอันว่ากรรมดีได้สนองผลให้แก่นายสุมนมาลาการในวันนั้นเอง
ทศชาติชาดก :ชาติที่ 10 เวสสันดรชาดก ( บำเพ็ญทานบารมี )
ครั้นเมื่อพระนางผุสดีทรงครรภ์ใกล้กำหนด ประสูติ พระนางปรารถนาไปเที่ยวชมตลาดร้านค้า บังเอิญในขณะเสด็จประพาสนั้น พระนางทรงเจ็บครรภ์ และประสูติพระโอรสในบริเวณย่านนั้น พระโอรสจึงทรงพระนามว่า เวสสันดร หมายถึง ในท่ามกลางระหว่างย่านค้าขาย
พร้อมกับที่พระโอรสประสูติ ช้างต้นของ พระเจ้าสญชัยก็ตกลูกเป็นช้างเผือกเพศผู้ ได้รับชื่อว่า ปัจจัยนาค เป็นช้างต้นคู่บุญพระเวสสันดร
เมื่อพระกุมารเวสสันดรทรงเจริญวัยขึ้น ทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในการบริจาคทาน มักขอพระราชทานทรัพย์ จากพระบิดามารดา เพื่อบริจาคแก่ประชาชนอยู่เป็นนิตย์ ทรงขอให้พระบิดาตั้งโรงทานสี่มุมเมือง เพื่อบริจาคข้าวปลาอาหารและสิ่งของจำเป็นแก่ประชาชน และหากมีผู้มาทูลขอสิ่งหนึ่งสิ่งใด พระองค์ก็จะทรงบริจาคให้โดยมิได้เสียดาย ด้วยทรงเห็นว่า การบริจาคนั้น เป็นกุศลเป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ทั้งแก่ผู้รับและผู้ให้ ผู้รับก็จะพ้นความเดือดร้อน ผู้ให้ก็จะอิ่มเอิบเป็นสุขใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และยังทำให้พ้นจากความโลภ ความตระหนี่ถี่เหนียว ในทรัพย์สมบัติของตนอีกด้วย
พระเกียรติคุณของพระเวสสันดรเลื่องลือไปทั่วทุกทิศ ว่าทรงมีจิตเมตตาแก่ผู้อื่น มิได้ทรงเห็นแก่ความสุขสบายหรือเห็นแก่ทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์ มิได้ทรงหวงแหนสิ่งใดไว้สำหรับพระองค์
อยู่มาครั้งหนึ่ง ในเมืองกลิงคราษฏร์เกิดข้าวยากหมายแพง เพราะฝนแล้ง ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ ราษฎรอดอยาก ได้รับความเดือนร้อนสาหัส ประชาชน ชาวกลิงคราษฏร์พากันไปเฝ้าพระราชา ทูลว่า ในเมืองสีวี นั้นมีช้างเผือกคู่บุญ พระเวสสันดร ชื่อว่า ช้างปัจจัยนาค เป็นช้างมีอำนาจพิเศษ ถ้าอยู่เมืองใด จะทำให้ ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์จะบริบูรณ์ ขอให้พระเจ้ากลิงคราษฏร์ ส่งทูตเพื่อไปทูลขอช้างจากพระเวสสันดร พระเวสสันดรก็จะทรงบริจาคให้ เพราะพระองค์ไม่เคยขัดเมื่อมีผู้ทูลขอสิ่งใด
พระเจ้ากลิงคราษฏร์จึงส่งพราหมณ์แปดคน ไปเมืองสีวี ครั้นเมื่อพราหมณ์ได้พบพระเวสสันดรขณะเสด็จประพาสพระนคร ประทับบนหลังช้างปัจจัยนาค พราหมณ์จึงทูลขอช้างคู่บุญ เพื่อดับทุกข์ชาวกลิงคราษฏร์ พระเวสสันดรก็โปรดประทานให้ตามที่ขอ
ชาวสีวีเห็นพระเวสสันดรทรงบริจาคช้างปัจจัยนาคคู่บ้านคู่เมืองไปดังนั้น ก็ไม่พอใจ พากันโกรธเคืองว่า ต่อไปบ้านเมืองจะลำบาก เมื่อไม่มีช้างปัจจัยนาคเสียแล้ว จึงพากันไปเข้าเฝ้าพระเจ้าสญชัย ทูลกล่าวโทษพระเวสสันดรว่าบริจาคช้างคู่บ้านคู่เมืองแก่ชาวเมืองอื่นไป ขอให้ขับพระเวสสันดรไปเสียจากเมืองสีวี
พระเจ้าสญชัยไม่อาจขัดราษฏรได้ จึงจำพระทัยมีพระราชโองการให้ขับพระเวสสันดร ออกจากเมืองไป
พระเวสสันดรไม่ทรงขัดข้อง แต่ทูลขอพระราชทานโอกาสบริจาคทานครั้งใหญ่ก่อนเสด็จออกจากพระนคร พระบิดาก็ทรงอนุญาตให้
พระเวสสันดร ทรงบริจาค สัตสดกมหาทาน คือบริจาค ทานเจ็ดสิ่ง สิ่งละเจ็ดร้อย แก่ประชาชนชาวสีวี
เมื่อพระนางมัทรี พระมเหสีของพระเวสสันดร ทรงทราบว่า ประชาชนขอให้ขับพระเวสสันดร ออกจาก เมือง ก็กราบทูลพระเวสสันดรว่า
"พระองค์เป็นพระราชสวามีของหม่อมฉัน พระองค์เสด็จไปที่ใด หม่อมฉันจะขอติดตาม ไปด้วยทุกหนทุกแห่ง มิได้ย่อท้อต่อความ ลำบาก ขึ้นชื่อว่าเป็นสามีภรรยาแล้ว ย่อมต้อง อยู่เคียงข้างกันในทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่ายามสุข หรือทุกข์ โปรดประทานอนุญาตให้หม่อมฉัน ติดตามไปด้วยเถิด"
พระเวสสันดรไม่ทรงประสงค์ให้พระนางมัทรี ติดตามพระองค์ไป เพราะการเดินทางไปจากพระนคร ย่อมมีแต่ความยากลำบาก ทั้งพระองค์เองก็ทรงปรารถนาจะเสด็จไปประทับบำเพ็ญศีลภาวนาอยู่ในป่า พระนางมัทรีไม่คุ้นเคยต่อสภาพเช่นนั้น ย่อมจะต้องลำบากยากเข็ญ ทั้งอาหารการกินและความเป็นอยู่
แต่ไม่ว่าพระเวสสันดรจะตรัสห้ามปรามอย่างไร พระนางก็มิยอมฟัง บรรดาพระประยูรญาติ ก็พากันอ้อนวอนขอร้อง พระนางก็ทรงยืนกรานว่า จะติดตามพระราชสวามีไปด้วย พระนางผุสดีจึงทรงไปทูลขอพระเจ้าสญชัย มิให้ขับพระเวสสันดรออกจากเมือง
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
"บ้านเมืองจะเป็นสุขได้ ก็ต่อเมื่อราษฏรเป็นสุข พระราชาจะเป็นสุขได้ก็เมื่อราษฏรเป็นสุข ถ้าราษฏรมีความทุกข์ พระราชาจะนิ่งเฉยอยู่ได้อย่างไร ราษฏรพากันกล่าวโทษพระเวสสันดรว่าจะทำให้บ้านเมืองยากเข็ญ เราจึงจำเป็นต้องลงโทษ แม้ว่าพระเวสสันดรจะเป็นลูกของเราก็ตาม"
ไม่ว่าผู้ใดจะห้ามปรามอย่างไร พระนางมัทรีก็จะตามเสด็จพระเวสสันดรไปให้จงได้ พระเจ้าสญชัยและ พระนางผุสดีจึงขอเอา พระชาลี พระกัณหา โอรสธิดาของพระเวสสันดรไว้ แต่พระนางมัทรีก็ไม่ยินยอม ทรงกล่าวว่า
"เมื่อชาวเมืองสีวีรังเกียจพระเวสสันดร ให้ขับไล่ไปเสียดังนี้ พระโอรสธิดาจะอยู่ต่อไปได้อย่างไร ชาวเมืองโกรธแค้นขึ้นมา พระชาลีกัณหาก็จะทรงได้รับความลำบาก จึงควรที่จะออกจากเมืองไปเสียพร้อมพระบิดาพระมารดา"
ในที่สุดพระเวสสันดร พร้อมด้วยพระมเหสี และโอรสธิดาก็ออกจากเมืองสีวีไป แม้ในขณะนั้นชาวเมือง ยังตามมาทูลขอรถพระที่นั่ง ทั้งสี่พระองค์จึงต้องทรงดำเนินด้วยพระบาท ออกจากเมืองสีวีมุ่งไปสู่ป่า เพื่อบำเพ็ญพรตภาวนา
ครั้นเสด็จมาถึงเมืองมาตุลนคร บรรดากษัตริย์เจตราชทรงทราบข่าว จึงพากันมาต้อนรับ พระเวสสันดรทรงถามถึงทางไปสู่เขาวงกต กษัตริย์เจตราชก็ทรงบอกทางให้และเล่าว่า เขาวงกตนั้นต้องเดินทางผ่านป่าใหญ่ที่เต็มไปด้วยอันตราย แต่เมื่อไปถึงสระโบกขรณีแล้ว ก็จะเป็นบริเวณร่มรื่นสะดวกสบาย มีต้นไม้ผล ที่จะใช้เป็นอาหารได้
นอกจากนี้กษัตริย์เจตราช ยังได้สั่งให้ พรานป่าเจตบุตร ซึ่งเป็นผู้ชำนาญป่าแถบนั้น ให้คอยเฝ้าระแวดระวังรักษาต้นทาง ที่จะไปสู่เขาวงกต เพื่อมิให้ผู้ใดไปรบกวนพระเวสสันตรในการบำเพ็ญพรต เว้นแต่ทูตจากเมืองสีวีที่จะมาทูลเชิญเสด็จกลับนครเท่านั้น ที่จะยอมให้ผ่านเข้าไปได้
เมื่อเสด็จไปถึงบริเวณสระโบกขรณีอันเป็นที่ร่มรื่นสบาย พระเวสสันดร พระนางมัทรี ตลอดจน พระโอรสธิดา ก็ผนวชเป็นฤๅษี บำเพ็ญพรตภาวนาอยู่ ณ ที่นั้น โดยมีพรานป่าเจตบุตรคอยรักษาต้นทาง
ณ ตำบลบ้านทุนนวิฐ เขตเมืองกลิงคราษฏร์ มีพราหมณ์เฒ่าชื่อ ชูชก หาเลี้ยงชีพด้วยการขอทาน ชูชกขอทานจนได้เงินมามาก จะเก็บไว้เองก็กลัวสูญหาย จึงเอาไปฝากเพื่อนพราหมณ์ไว้ อยู่มาวันหนึ่ง ชูชกไปหาพราหมณ์ที่ตนฝากเงินได้ จะขอเงินกลับไป ปรากฏว่า พราหมณ์นั้นนำเงินไปใช้หมดแล้ว จะหามาใช้ให้ชูชกก็หาไม่ทัน จึงจูงเอาลูกสาวชื่อ อมิตตดา มายกให้แก่ชูชก
พราหมณ์กล่าวแก่ชูชกว่า
"ท่านจงรับเอาอมิตตดาลูกสาวเราไปเถิด จะเอาไปเลี้ยงเป็นลูกหรือภรรยา หรือจะเอาไปเป็นทาสรับใช้ปรนนิบัติก็สุดแล้วแต่ท่านจะเมตตา"
ชูชกเห็นนางอมิตตดาหน้าตาสะสวย งดงามก็หลงรัก จึงพานางไปบ้าน เลี้ยงดูนางในฐานะภรรยา
นางอมิตตดาอายุยังน้อย หน้าตางดงาม และมีความกตัญญูต่อพ่อแม่ นางจึงยอมเป็นภรรยาชูชกผู้แก่เฒ่า รูปร่างหน้าตาน่ารังเกียจ
อมิตตดา ปรนนิบัติชูชกอย่างภรรยาที่ดีจะพึงกระทำทุกประการ นางตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร ดูแลบ้านเรือนไม่มีขาดตกบกพร่อง ชูชกไม่เคย ต้องบ่นว่าหรือตักเตือนสั่งสอนแต่อย่างใดทั้งสิ้น
ความประพฤติที่ดีเพียบพร้อมของนางอมิตตดา ทำให้เป็นที่สรรเสริญของบรรดาพราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนั้น ในไม่ช้า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้นก็พากันตำหนิติเตียนภรรยาของตน ที่มิได้ประพฤติตนเป็นแม่บ้านแม่เรือนอย่างอมิตตดา บางบ้านก็ถึงกับทุบตีภรรยา เพื่อให้รู้จักเอาอย่างนาง
เหล่านางพราหมณีทั้งหลายได้รับความเดือดร้อน ก็พากันโกรธแค้นนางอมิตตดาว่าเป็นต้นเหตุ
วันหนึ่ง ขณะที่นางไปตักน้ำในหมู่บ้าน บรรดานางพราหมณีก็รุมกันเย้ยหยันที่นางมีสามีแก่ หน้าตาน่าเกลียดอย่างชูชก
นางพราหมณีพากันกล่าวว่า
"นางก็อายุน้อย หน้าตางดงาม ทำไมมายอมอยู่กับเฒ่าชราน่ารังเกียจอย่างชูชก หรือว่ากลัวจะหาสามีไม่ได้ มิหนำซ้ำยังทำ ตนเป็นกาลกิณี พอเข้ามาในหมู่บ้าน ก็ทำให้ ชาวบ้านสิ้นความสงบสุข เขาเคยอยู่กันมาดีๆ พอนางเข้ามาก็เดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า หาความสงบ ไม่ได้ นางอย่าอยู่ในหมู่บ้านนี้เลย จะไปไหนก็ไปเสียเถิด"
ไม่เพียงกล่าววาจาด่าทอ ยังพากันหยิกทึ้ง ทำร้ายนางอมิตตดา จนนางทนไม่ได้ ต้องหนีกลับบ้านร้องไห้ มาเล่าให้ชูชกฟัง ชูชกจึงบอกว่า ต่อไปนี้นางไม่ต้องทำการงานสิ่งใด ชูชกจะเป็นฝ่ายทำให้ทุกอย่าง
นางอมิตตดาจึงว่า
"ภรรยาที่ดีจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร จะปล่อยให้สามีมาปรนนิบัติรับใช้ เราทำไม่ได้หรอก ลูกหญิงที่พ่อแม่อบรมสั่งสอนมาดี ย่อมจะไม่นั่งนอนอยู่เฉยๆ ดีแต่ชี้นิ้วให้ผู้อื่นปรนนิบัติตน นี่แน่ะ ชูชก ถ้าท่านรักเราจริง ท่านจงไปหาบริวารมาปรนนิบัติรับใช้เราดีกว่า"
ชูชกได้ฟังดังนั้นก็อัดอั้นตันใจ ไม่รู้จะไปหา ข้าทาสหญิงชายมาจากไหน
นางอมิตตดา จึงแนะว่า
"ขณะนี้ พระเวสสันดรเสด็จออกมาจากเมืองสีวี มาทรงบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าเขาวงกต พระองค์เป็นผู้ใฝ่ในการบริจาคทาน ท่านจงเดินทางไปขอบริจาคพระชาลีกัณหา โอรสธิดาของพระเวสสันดรมาเป็นข้าทาสของเราเถิด"
ชูชกไม่อยากเดินทางไปเลยเพราะกลัวอันตรายในป่า แต่ครั้นจะไม่ไปก็กลัวนางอมิตตดาจะทอดทิ้ง ไม่ยอมอยู่กับตน ในที่สุดชูชกจึงตัดสินใจเดินทางไปเขาวงกตเพื่อทูลขอพระชาลีกัณหา
เมื่อไปถึงบริเวณปากทางเข้าสู่เขาวงกต ชูชกก็ได้พบพรานเจตบุตรผู้รักษาปากทาง หมาไล่เนื้อที่พรานเลี้ยงไว้ พากันรุมไล่ต้อนชูชกขึ้นไปจนมุมอยู่บนต้นไม้
เจตบุตรก็เข้าไปตะคอกขู่ ชูชกนั้นเป็นคนมีไหวพริบ สังเกตดูเจตบุตรก็รู้ว่าเป็นคนซื่อสัตย์ มีฝีมือเข้มแข็ง แต่ขาดไหวพริบ จึงคิดจะใช้วาจาลวง เจตบุตรให้หลงเชื่อ พาตนเข้าไปพบพระเวสสันดรให้ได้
ชูชกจึงกล่าวแก่เจตบุตรว่า
"นี่แนะ เจ้าพรานป่าหน้าโง่ เจ้าหารู้ไม่ว่าเราเป็นใคร ผู้อื่นเขาจะเดินทางมาให้ยากลำบากทำไมจนถึงนี่ เรามาในฐานะทูตของพระเจ้าสญชัย เจ้าเมืองสีวี จะมาทูลพระเวสสันดรว่า บัดนี้ชาวเมืองสีวีได้คิดแล้ว จะมาทูลเชิญเสด็จกลับพระนคร เราเป็นผู้มาทูลพระองค์ไว้ก่อน เจ้ามัวมาขัดขวางเราอยู่อย่างนี้ เมื่อไรพระเวสสันดรจะได้เสด็จคืนเมือง"
เจตบุตรได้ยินก็หลงเชื่อ เพราะมีความจงรักภักดี อยากให้พระเวสสันดรเสด็จกลับเมืองอยู่แล้ว จึงขอโทษชูชก จัดการหาอาหารมาเลี้ยงดูแล้วชี้ทางให้เข้าไปสู่อาศรม ที่พระเวสสันดรบำเพ็ญพรตภาวนาอยู่
เมื่อชูชกมาถึงอาศรมก็คิดได้ว่า หากเข้าไปทูลขอพระโอรสธิดาในขณะพระนางมัทรีอยู่ด้วย พระนางคงจะไม่ยินยอมยกให้ เพราะความรักอาลัยพระโอรสธิดา จึงควรจะรอจนพระนางเสด็จไปหาผลไม้ในป่าเสียก่อน จึงค่อยเข้าไปทูลขอต่อพระเวสสันดรเพียงลำพัง
ในวันนั้น พระนางมัทรีทรงรู้สึกไม่สบายพระทัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะในตอนกลางคืน พระนางทรงฝันร้ายว่า มีบุรุษร่างกายกำยำ ถือดาบ มาตัดแขนซ้ายขวาของพระนางขาดออกจากกาย บุรุษนั้นควักดวงเนตร ซ้ายขวา แล้วยังผ่าเอาดวงพระทัยพระนางไปด้วย
พระนางมัทรีทรงสังหรณ์ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น จึงทรง ละล้าละลังไม่อยากไปไกลจากอาศรม แต่ครั้นจะไม่เสด็จไปก็จะไม่มีผลไม้ มาให้พระเวสสันดรและโอรสธิดาเสวย พระนางจึงจูงโอรสธิดาไปทรงฝากฝังกับพระเวสสันดร ขอให้ทรงดูแล ตรัสเรียกหาให้เล่นอยู่ใกล้ๆ บรรณศาลา พร้อมกับเล่า ความฝันให้พระเวสสันดรทรงทราบ
พระเวสสันดรทรงหยั่งรู้ว่าจะมีผู้มาทูลขอพระโอรสธิดา แต่ครั้นจะบอกความตามตรง พระนางมัทรีก็คงจะทนไม่ได้ พระองค์เองนั้น ตั้งพระทัยมั่นว่าจะบริจาคทรัพย์สมบัติทุกสิ่งทุกประการในกายนอกกาย แม้แต่ชีวิตและเลือดเนื้อของพระองค์ หากมีผู้มาทูลขอ ก็จะทรงบริจาคให้โดยมิได้ทรงเสียดายหรือหวาดหวั่น
พระเวสสันดรจึงตรัสกับพระนางมัทรีว่าจะดูแลพระโอรสธิดาให้ พระนางมัทรีจึงเสด็จไปหาผลไม้ในป่าแต่ลำพัง
ครั้นชูชกเห็นได้เวลาแล้ว จึงมุ่งมาที่อาศรม ได้พบพระชาลีพระกัณหาทรงเล่นอยู่หน้าอาศรม ก็แกล้งขู่ให้สองพระองค์ตกพระทัยเพื่อข่มขวัญไว้ก่อน แล้วชูชกพราหมณ์เฒ่าก็เข้าไปเฝ้าพระเวสสันดร กล่าววาจากราบทูลด้วยโวหาร อ้อมค้อมลดเลี้ยว ชักแม่น้ำทั้งห้า เพื่อทูลขอพระโอรสธิดาไปเป็นข้าช่วงใช้ของตน
พระเวสสันดรทรงมีพระทัยยินดีที่จะทรงกระทำบุตรทาน คือการบริจาคบุตรเป็นทาน อันหมายถึงว่า พระองค์เป็นผู้สละกิเลส ความหวงแหนในทรัพย์สมบัติทั้งปวง แม้กระทั่งบุคคลอันเป็นที่รัก ก็สามารถสละเป็นทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ แต่พระองค์ทรงผัดผ่อนต่อชูชกว่า ขอให้พระนางมัทรีกลับมาจากป่า ได้ร่ำลาโอรสธิดาเสียก่อนชูชกก็ไม่ยินยอม กลับทูลว่า
"หากพระนางกลับมา สัญชาตญาณแห่งมารดา ย่อมจะทำให้พระนางหวงแหนห่วงใยพระโอรสธิดา ย่อมจะไม่ทรงให้พระโอรสธิดาพรากจากไปได้ หากพระองค์ทรงปรารถนาจะบำเพ็ญทานจริง ก็โปรดยกให้หม่อมฉันเสียแต่บัดนี้เถิด"
พระเวสสันดรจนพระทัยจึงตรัสเรียกหาพระโอรสธิดา แต่พระชาลีกัณหาซึ่งแอบฟังความอยู่ใกล้ๆ ได้ทราบว่า พระบิดาจะยกตนให้แก่ชูชก ก็ทรงหวาดกลัว จึงพากันไปหลบซ่อน โดยเดินถอยหลังลงสู่สระบัว เอาใบบัวบังเศียรไว้
ชูชกเห็นสองกุมารหายไป จึงทูลประชดประชันพระเวสสันดรว่า ไม่เต็มพระทัยบริจาคจริง ทรงให้สัญญาณแก่สองกุมารให้หนีไปซ่อนตัวเสียที่อื่น พระเวสสันดร จึงทรงต้องออกมาตามหาพระชาลีกัณหา
ครั้นทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าเดินขึ้นมาจากสระ จึงตรัสเรียกพระโอรสธิดาว่า
"ชาลีกัณหา เจ้าจงขึ้นมาหาพ่อเถิด หากเจ้านิ่งเฉยอยู่ พราหมณ์เฒ่าก็จะเยาะเย้ยว่าพ่อนี้ ไร้วาจาสัตย์ พ่อตั้งใจจะบำเพ็ญทานบารมี เพื่อสละละกิเลสให้บรรลุพระโพธิญาณ จะได้เป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ในภายภาคหน้า ให้พ้นจากทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด เจ้าจงมาช่วยพ่อประกอบการบุญ เพื่อบรรลุผล คือ พระโพธิญาณนั้นเถิด"
ทั้งสองกุมารทรงได้ยินพระบิดาตรัสเรียก ก็ทรงรำลึกได้ถึงหน้าที่ของบุตรที่ดี ที่พึงเชื่อฟังบิดามารดา รำลึกได้ถึงความพากเพียรของพระบิดาที่จะประกอบบารมีเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส ทั้งยังรำลึกถึงขัตติยมานะ ว่าทรงเป็นโอรสธิดากษัตริย์ ไม่สมควรจะหวาดกลัวต่อสิ่งใด จึงเสด็จขึ้นมาจากสระบัว พระบิดาก็จูงทั้งสองพระองค์มาทรงบริจาคเป็นทานแก่ชูชก
ชูชกครั้นได้ตัวพระชาลีกัณหาเป็นสิทธิขาดแล้ว ก็แสดงอำนาจฉุดลากเอาสองกุมารเข้าป่าไป เพื่อจะให้เกิดความยำเกรงตน
พระเวสสันดรทรงสงสารพระโอรสธิดา แต่ก็ไม่อาจทำประการใดได้ เพราะทรงถือว่า ได้บริจาคเป็นสิทธิแก่ชูชกไปแล้ว
ครั้นพระนางมัทรีทรงกลับมาจากป่าในเวลาพลบค่ำ เที่ยวตามหาโอรสธิดาไม่พบ ก็มาเฝ้าทูลถามจากพระเวสสันดร พระเวสสันดรจะทรงตอบความจริงก็เกรงว่า นางจะทนความเศร้าโศกมิได้ จึงทรงแกล้งตำหนิว่า นางไปป่าหาผลไม้ กลับมาจนเย็นค่ำ คงจะรื่นรมย์มากจนลืมนึกถึง โอรสธิดาและสวามีที่คอยอยู่
พระนางมัทรีได้ทรงฟัง ก็เสียพระทัย ทูลตอบว่า
"เมื่อหม่อมฉันจะกลับอาศรม มีสัตว์ร้ายวนเวียนดักทางอยู่ หม่อมฉันจะมา ก็มามิได้ จนเย็นค่ำ สัตว์ร้ายเหล่านั้นจึงจากไป หม่อมฉันมีแต่ความสัตย์ซื่อ มิได้เคยนึกถึงความสุขสบายส่วนตัวเลยแม้แต่น้อยนิด บัดนี้ลูกของหม่อมฉันหายไป จะเป็นตายร้ายดีอย่างไรก็มิทราบ หม่อมฉัน จะเที่ยวติดตามหาจนกว่าจะพบลูก"
พระนางมัทรีทรงออกเที่ยวตามหาพระชาลี กัณหาตามรอบบริเวณศาลา เท่าไรๆ ก็มิได้ พบจนในที่สุด พระนางก็สิ้นแรง ถึงกับสลบไป
พระเวสสันดรทรงเวทนา จึงทรงนำน้ำเย็นมาประพรมจนนางฟื้นขึ้น ก็ตรัสเล่าว่าได้บริจาคโอรสธิดาแก่พราหมณ์เฒ่าไปแล้ว ขอให้พระนางอนุโมทนาในทานบารมีที่ทรงกระทำไปนั้น ด้วยบุตรทานที่พระราชสวามีทรงบำเพ็ญ และมีพระทัยค่อยบรรเทาจากความโศกเศร้า
ฝ่ายท้าวสักกะเทวราชทรงเล็งเห็นว่า หากมีผู้มาทูลขอพระนางมัทรีไป พระเวสสันดรก็จะทรงลำบาก ไม่อาจบำเพ็ญเพียรได้เต็มความปรารถนา เพราะต้องทรงแสวงหาอาหารประทังชีวิต ท้าวสักกะจึงแปลงองค์เป็นพราหมณ์ มาขอรับบริจาคพระนางมัทรี พระเวสสันดร ก็ทรงปิติยินดีที่จะได้ประกอบทารทานคือการ บริจาคภรรยาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น พระนางมัทรีก็ทรงเต็มพระทัยที่จะได้ทรงมีส่วน ในการบำเพ็ญทานบารมีตามที่พระเวสสันดร ทรงตั้งพระทัยไว้ เมื่อได้รับบริจาคแล้ว ท้าวสักกะก็ทรงกลับคืนร่างดังเดิม และตรัสสรรเสริญอนุโมทนาในกุศลแห่งทานบารมีของพระเวสสันดร แล้วถวายพระนางมัทรีกลับคืนแด่พระเวสสันดร
พระเวสสันดรจึงได้ทรงประกอบบุตรทารทาน อันยากที่ผู้ใดจะกระทำได้ สมดังที่ได้ตั้งพระทัย ว่าจะบริจาคทรัพย์ของพระองค์ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยปราศจากความหวงแหนเสียดาย
ฝ่ายชูชกพาสองกุมารเดินทางมาในป่า ระหกระเหินได้รับความลำบากเป็นอันมาก และหลงทางไปจนถึง เมืองสีวี บังเอิญผ่านไปหน้าที่ประทับพระเจ้าสญชัย ทรงทอดพระเนตรเห็นพระนัดดาทั้งสองก็ทรงจำได้ จึงให้เสนาไปพาเข้ามาเฝ้า
ชูชกทูลว่า พระเวสสันดรทรงบริจาคพระชาลีกัณหา ให้เป็นข้าทาสของตนแล้ว บรรดาเสนาอำมาตย์และประชาชนทั้งหลาย ต่างก็พากันสงสารพระกุมารทั้งสอง และ ตำหนิพระเวสสันดรที่มิได้ทรงห่วงใยพระโอรสธิดา
พระชาลีเห็นผู้อื่นพากันตำหนิติเตียนพระบิดา จึงทรงกล่าวว่า
"เมื่อพระบิดาเสด็จไปผนวชอยู่ในป่า มิได้ทรงมีสมบัติใดติดพระองค์ไป แต่ทรงมีพระทัยแน่วแน่ที่จะสละกิเลส ไม่หลงใหลหวงแหนในสมบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใด แม้บุคคลอันเป็นที่รักก็ย่อมสละได้เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพราะทรงมีพระทัยมั่นในพระโพธิญาณ ในภายหน้า ความรัก ความหลง ความโลภ ความโกรธ เป็นกิเลสที่ขวางกั้นหนทางไปสู่พระโพธิญาณ พระบิดาของหม่อมฉันสละกิเลสได้ดังนี้ จะมาตำหนิติเตียนพระองค์หาควรไม่"
พระเจ้าสญชัยได้ทรงฟังดังนั้นก็ยินดี จึงตรัสเรียกพระชาลีให้เข้าไปหา แต่พระชาลียังคงประทับอยู่กับชูชก และทูลว่า พระองค์ยังเป็นทาสของชูชกอยู่
พระเจ้าสญชัยจึงขอไถ่สองกุมารจากชูชก
พระชาลีตรัสว่า พระบิดา ตีค่าพระองค์ไว้พันตำลึงทอง แต่พระกัณหานั้นเป็นหญิง พระบิดาจึงตีค่าตัวไว้สูง เพื่อมิให้ผู้ใดมาไถ่ตัวหรือซื้อขายไปได้ง่ายๆ พระกัณหานั้นมีค่าตัวเท่ากับทรัพย์เจ็ดชีวิตเจ็ดสิ่ง เช่น ข้าทาส หญิงชาย เป็นต้น สิ่งละเจ็ดร้อย กับทองคำอีกร้อยตำลึง
พระเจ้าสญชัยก็โปรดให้เบิกสมบัติท้องพระคลัง มาไถ่ตัวพระนัดดาจากชูชก และโปรดให้จัดข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูชูชก เพื่อตอบแทนที่พาพระนัดดากลับมาถึงเมือง
ชูชกพราหมณ์เฒ่าขอทาน ไม่เคยได้บริโภคอาหารดีๆ ก็ไม่รู้จักยับยั้ง บริโภคมากจนทนไม่ไหว ถึงแก่ความตายในที่สุด
พระเจ้าสญชัยโปรดให้จัดการศพแล้วประกาศหาผู้รับมรดกก็หามีผู้ใดมาขอรับไม่
หลังจากนั้น พระเจ้าสญชัย จึงตรัส สั่งให้จัดกระบวนเสด็จเพื่อไปรับ พระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับคืนสู่ เมืองสีวี เพราะบรรดาประชาชนก็พากันได้คิดว่า พระเวสสันดรได้ทรงประกอบทานบารมีอันยิ่งใหญ่ ทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อประโยชน์แห่งผู้คนทั้งหลาย หาใช่เพื่อพระองค์เองไม่
เมื่อกระบวนไปถึงอาศรมริมสระโบกขรณี กษัตริย์ทั้งหกก็ทรงได้พบกันด้วยความโสมนัสยินดี
พระเจ้าสญชัยจึงตรัสบอกพระเวสสันดร ว่าประชาชนชาวสีวีได้เห็นสิ่งที่ถูกที่ควรแล้ว และพากันร่ำร้องได้ ทูลเชิญเสด็จกลับเมืองสีวี พระเวสสันดร พระนางมัทรี และพระชาลี กัณหาจึงได้เสด็จกลับเมือง
พระเจ้าสญชัย ทรงอภิเษกพระเวสสันดรขึ้นครองเมืองสืบต่อไป
ครั้นได้เป็นพระราชาแห่งสีวี พระเวสสันดรก็ทรงยึดมั่นในการประกอบทานบารมี ทรงตั้งโรงทานบริจาคเป็นประจำทุกวัน ชาวเมืองสีวีตลอดจนบ้านเมืองใกล้เคียง ก็ได้รับพระเมตตากรุณา มีความร่มเย็นเป็นสุข ชาวเมืองต่างก็เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันมิได้โลภ กระหายในทรัพย์สมบัติ ต่างก็มีจิตใจผ่องใสเป็น สุข เหมือนดังที่พระเวสสันดรทรงตั้งพระปณิธานว่า พระองค์จะทรงบริจาคทรัพย์สมบัติทั้งปวง เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ด้วยทรัพย์ทั้งหลาย ทำให้เกิดกิเลส คือความโลภ ความหลง หวงแหน เมื่อบริจาคทรัพย์แล้ว ผู้รับก็จะได้ประโยชน์จากสิ่งนั้น และมีความชื่นชมยินดี ผู้ให้ก็จะอิ่มเอมใจ ว่าได้ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เกิดความปิติยินดีเช่นกัน ทั้งผู้ให้และผู้รับย่อมได้รับความสุขความพึงพอใจดังนี้
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
อานิสงส์กฐินทาน
อานิสงส์กฐินทาน
......ในครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มาอุบัติในโลก มีบุรุษเข็ญใจไร้ญาติพี่น้องทั้งทรัพย์
สินเงินทองก็ขาดแคลนอาศัยเลี้ยงชีพอยู่ในเมืองพาราณสี ไปหาสิริธรรมมหาเศรษฐีมีทรัพย์
๘๐ โกฏิ แล้ววิงวอนขออยู่เป็นลูกจ้าง ท่านเศรษฐีมีความสงสารจึงถามว่ามีความรู้อะไรบ้าง บุรุษเข็ญ
ใจบอกว่า ข้าพเจ้าไม่มีความรู้อะไรเลย มีแต่กำลังกายเท่านั้นท่านเศรษฐีกล่าวว่าถ้าเช่นนั้นเจ้าจง
ไปรักษาหญ้าเราจะให้ข้าววันละหม้อ
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา บุรุษก็รักษาหญ้าจนมีชื่อว่า ติณณปาละ อยู่มาวันหนึ่ง ติณณปาละมาคิดว่าตัวเรานี้ ในชาติปางก่อนคงจะไม่ได้ทำบุญกุศลอันใดไว้เลย มาถึงชาติ นี้เราจึงได้ลำบากยากแค้น แม้แต่อาหารจะรับประทานไปวันหนึ่งๆ ก็ทั้งยาก แต่นี้ต่อไปเราจะต้องขวนขวายให้ทานทุก ๆ วัน เมื่อมีความตั้งใจอย่างนี้แล้ว ก็แบ่งอาหารออกเป็น ๒ ส่วน ๆ หนึ่ง ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ อีกส่วนหนึ่งไว้บริโภคเองทำอย่างนี้มาตลอดทุก ๆ วันมิได้ขาดด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ติณณปาละทำนั้น ก็ทราบไปถึงสิริธรรมเศรษฐีผู้เป็นนายจ้างจึงสั่งให้เพิ่มอาหารขึ้นอีกเป็น ๓ ส่วน
ติณณปาละก็แบ่งออกไปอีกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งถวายภิกษุสามเณรอีกส่วนหนึ่งให้แก่ยาจก อีกส่วน
ตนเก็บไว้บริโภค ทำอยู่อย่างนี้เป็นลำดับมา
จนถึงฤดูออกพรรษาประชาชนและท่านสิริธรรมเศรษฐีได้พากันทำกฐินทานเพื่อจะถวายแก่ภิกษุสงส์ ผู้อยู่จำพรรษาด้านไตรมาส สามเดือน ติณณปาละได้ทราบ ข่าวดังนี้แล้วก็เข้าไปหาสิริธรรมเศรษฐีถามถึง
อานิสงส์ผลของกฐินทานว่าการถวายทานอย่างนี้ คงจะมี ผลเป็นอันมาก เพราะประชาชนไม่นิ่งนอนใจ ช่วยกันหลายคนเศรษฐีบอกถึงคุณานุภาพ ของกฐินทานโดยละเอียดจนติณณปาละเกิดศรัทธาแก่กล้า ก็ถามว่าอีกเมื่อไรจะถึงกำหนดถวาย เศรษฐีบอกว่าอีก ๗ วัน
ติณณปาละก็กลับไปสู่ที่อยู่ของตนก็คิดว่าจะนำของไปเห็นวัตถุทานก็ไม่มี เห็นอยู่แต่ผ้านุ่งผืน
เดียวเท่านั้นที่จะนำเข้าเป็นส่วนกฐินทานได้ เมื่อจะเปลื้องผ้าออกทาน ตัวกิเลสคือความตระหนี่เหนียว
แน่นก็มากั้นไว้ถ้าสละผ้าผืนนั้นแล้วเราจะไหนนุ่ง มีอยู่ผืนเดียวเท่านี้ ผลที่สุดก็ตัดสินใจเด็ดขาดว่าเรา
จะต้องถวายแน่ ก็เปลื้องผ้ามาทำการซักฟอกและย้อมด้วยน้ำฝาดตนเองก็เอาใบไม้มานุ่ง ป้องกันความ
อายเท่านั้น แล้วรีบนำผ้าไปหาเศรษฐี มอบอนุโมทนาผ้านั้นเข้าเป็นส่วนบริวารของกฐินนั้น เศรษฐีก็รับ
อนุโมทนานำผืนของติณณปาละเข้าเป็นส่วนผ้าบริวาร ซึ่งยังขาดอยู่ผืนหนึ่งแล้วนำไปถวายแก่พระภิกษุ
สงฆ์
เสียงโกลาหลก็บังเกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยเสียงสาธุการของเทวดาทั่วทั้งอากาศและปฐพี พระมหากษัตริย์ได้ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว ก็ตกพระทัยกลัวว่าจะมีมรณภัยมาถึงพระองค์รับสั่งให้หาปุโรหิต
แล้วตรัสถามถึงเหตุโกลาหลอื้ออึงนั้น ในครั้งนั้นมีเทวดาองค์หนึ่งที่รักษาอยู่เศวตฉัตรจึงกล่าวว่า ดูกร
มหาบพิตรเสียงโกลาหลอื้ออึ้งนั้น มิใช่ว่าจะมีภัยมาถึงพระองค์นั้นเป็นเสียงของเทวดาทั้งหลายในหมื่น
โลกธาตุได้สาธุการส่วนบุญของติณณปาละเป็นคนเข็ญใจ รักษาไร่หญ้าของเศรษฐี ได้เปลื้องผ้านุ่งของ
ตนออกมาเข้าส่วนกฐินทาน พระองค์อย่าตกพระทัยไปเลย พระราชาทรงทราบเช่นนั้นก็ทรงปีติยินดี รับ
สั่งให้หาติณณปาละพร้อมทั้งส่งผ้าสาฏกคูหนึ่ง ราคาผืนละหนึ่งแสนกหาปณะไปพระราชทาน นาย
ติณณปาละก็นุ่งสาฎกเข้าเฝ้าพระราชา ครั้นพระราชาทรงขอซื้อส่วนกุศลด้วยทรัพย์มีประมาณพันหนึ่ง
จนทวีขึ้นเป็นลำดับจนถึงแสนกหาปณะ ติณณปาละ ก็ไม่ขายให้ตามพระประสงค์ได้จึงกราบทูล จะ
ทรงซื้อด้วยทรัพย์นั้นไม่ได้ พระเจ้าข้าถ้าหากพระองค์จะอนุโมทนาส่วนบุญนี้ได้อยู่
พระเจ้าข้า พระราชามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งให้คนดีฆ้องร้องประกาศตลอดทั้งพระนครแล้วพระราช
ทาน ช้าง ม้า โค กระบือ ข้าทาส ชายหญิงอย่างละหนึ่งร้อย บูชาแก่ติณณปาละเป็นอันมาก แล้วตั้งไว้
ในตำแหน่งเศรษฐีส่วนพ่อค้าคฤหบดีเศรษฐี ก็พากันสละทรัพย์เป็นจำนวนมากออกบูชาคุณติณณปาละ
เป็นสมบัติมากมาย ที่ติณณปาละได้แล้วก็ด้วยบุญกุศลเจตนาอันแรงกล้า จึงเป็นผลสำเร็จให้ผลทันตา
เห็นในปัจจุบันชาติ ครั้นติณณปาละทำกิริยาตายแล้ว ก็ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์
ครั้นถึงพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัส ติณณปาละเทวบุตร ก็จะจุติลงมาอุบัติเป็นราชโอรส แห่งนครมัณฑาลวดี ครั้นต่อมาเสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดา อยู่ ๔ หมื่นปีแล้วออกบวชเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา สำเร็จพระอรหันต์องค์หนึ่งของพระศรีอริยเมตไตรย์ มีนามว่าติณณปาละเถระ ดังนี้เป็นต้น ตสฺมา สาธโว เมื่อสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายที่ทราบรู้เหตุรู้
ผลของการถวายผ้ากฐินทานว่ามีอานิสงส์อย่างไรแล้วก็ขออย่าให้ท่านทั้งหลายจงอย่าเป็นผู้ประมาท ใน
เมื่อถึงคราวกาลสมัยที่จะถวายก็ควรจะถวายก็ควรทำจะเป็น ของมากน้อยอย่างไรไม่สำคัญ สำคัญอยู่
ว่าให้ทำและทำด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง แล้วตั้งความปรารถนาของตนไว้ด้วยดี มิใช่ว่าทำเห็นแต่หน้าหา
ความศรัทธามิได้ ทรัพย์ที่เราสละไปก็จะไม่ได้ผลเต็มที่ ถ้าเราทำด้วยความเต็มใจแล้วถึงแม้จะน้อยก็
ย่อมมีอานิสงส์มากดังเรื่องติณณปาละ
-----------------
มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฏก กฐินขันธกะ ว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับ ณ พระเชตวัน ครั้งนั้นภิกษุ ๓๐ รูป ชาวเมืองปาไฐยยะ (อยู่ ด้านทิศปัจฉิม ในแคว้นโกศล) เดินทางมาด้วยหวังว่าจะเฝ้าพระผู้มีภาค แต่มาไม่ทันเพราะเหตุใกล้วันเข้าพรรษา จึงพักจำพรรษา ณ เมืองสาเกต ในระหว่างพรรษานั้น ไม่ผาสุก เพราะลำบากด้วยที่อยู่ในฐานะเป็นอาคันตุกะ และต่างก็มีใจรัญจวนถึงพระบรมศาสดา ด้วยคิดว่า แม้จะจากเมืองมาอยู่ ณ ที่ใกล้แล้ว ก็ยังมิได้ถวายบังคมเบื้องบาทมูลแห่งสมเด็จพระบรมศาสดาดังใจประสงค์ ครั้นออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างก็รีบออกเดินทางมายังพระเชตวัน ในระหว่างทาง พื้นภูมิภาคยังเป็นหล่มเป็นโคลนเป็นตม เพราะยังไม่แห้งภิกษุทั้งหลายเหยียบย่ำมาตามทาง โคลนตมและน้ำตามหลุมตามบ่อเล็กน้อยก็กะฉูดขึ้นเปื้อนจีวรและร่างกาย ฝ่าแดดกรำฝน ทนความลำบาก จีวรผ้าเนื้อหยาบของภิกษุเหล่านั้นเปียกน้ำฝนน้ำโคลน ก็อุ้มน้ำไว้หนักอึ้ง ลำบากแต่ร่างกายยิ่งแล้วแต่พวกภิกษุทั้ง ๓๐ ก็พากันมาถึงพระเชตวัน ครั้นแล้ว ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงปราศรัยตรัสความเป็นไปแล้ว ตรัสธรรมกถา ภิกษุเหล่านั้นก็ได้สำเร็จพระอรหัตผล ในลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงดำริถึงความลำบากของภิกษุเหล่านั้น และเห็นว่ากฐินตฺถาโร จ นาเมส สพฺพพุทฺเธหิ อนุญฺญาโต การกรานกฐิน นี้พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ได้ทรงอนุญาตมา ดังนั้น จึงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสอนุญาตตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คือให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้เมื่อออกพรรษาแล้ว นางวิสาขา ได้ทราบพุทธานุญาต และได้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรก
คำว่า “ กฐิน “ มีความหมาย ๔ อย่าง คือ
๑) กฐินเป็นชื่อของกรอบไม้ ซึ่งทำเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวร อาจจะเรียกว่า “ สะดึง “ ก็ได้ เนื่องจากในสมัยพุทธกาล การทำจีวรให้มีรูปร่างลักษณะตามที่กำหนด ทำได้ยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้เพื่อเป็นแบบ ส่วนใหญ่นิยมเรียกผ้านุ่งว่า สบง, ผ้าห่มเรียกว่า จีวร ส่วนผ้าห่มซ้อนเรียกว่า สังฆาฏิ การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบนี้คือนำผ้าทาบลงไปกับแม่แบบ ตัดและเย็บ ย้อมโดยทำให้เสร็จในวันเดียว ซึ่งต้องอาศัยความสามัคคีของพระภิกษุสงฆ์ เมื่อทำเสร็จแล้วก็รื้อแม่แบบนั้นเก็บไว้ใช้งานในปีต่อไป การรื้อไม้แม่แบบนี้เรียกว่า “ เดาะ “ ดังนั้นคำว่า “ กฐินเดาะ “ หรือ “ เดาะกฐิน “ จึงหมายถึงการรื้อไม้แม่แบบเก็บไว้ใช้ในกาลต่อไป
(๒) กฐินเป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายใช้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล ๑ เดือน นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ , ภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์แล้ว ก็เป็นอันใช้ได้
(๓) กฐินเป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวันหนึ่งครบ ๓ เดือน เพื่อสงเคราะห์ให้มีผ้านุ่ง หรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนกับของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้ว กล่าวคำถวายในท่ามกลางคณะสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็นกาลทาน คือการถวายทานที่ทำได้เฉพาะกาล ๑ เดือน ดังกล่าวในกฐินที่เป็นชื่อของผ้า ถ้าถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้น ไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือว่าหาโอกาสทำได้ยาก
(๔) กฐินเป็นชื่อของสังฆกรรม คือ กิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลาย ก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่นขยายเวลาทำจีวรได้อีก ๔ เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน ๑ วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้ว อนุญาตให้แสวงหาผ้า และเก็บผ้าไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔
ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฐิน
๑. จำนวนพระสงฆ์ในวัดที่จะทอดกฐินได้ กล่าวตามหลักฐานในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพระพุทธภาษิต ว่าพระสงฆ์ ๔ รูปขึ้นไป แต่ภายหลังอรรถกถา กล่าวว่า ต้องมี ๕ รูป ขึ้นไป
๒. พระสงฆ์ที่มีสิทธิรับกฐิน คือพระสงฆ์ที่จำพรรษาในวัดนั้นครบ ๓ เดือน หากวัดนั้นมีจำนวนพระสงฆ์ไม่ครบ ๔ หรือ ๕ รูป ทางวัดสามารถนิมนต์พระจากวัดอื่นมาสมทบให้ครบจำนวนได้ แต่พระที่มาจากวัดอื่นไม่มีสิทธิรับกฐิน นอกจากเครื่องบริขารหรือปัจจัยที่เจ้าภาพถวายเท่านั้น
๓. การทอดกฐินนั้นทำได้ภายในเวลาจำกัด คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่นับเป็นกฐิน แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่นจะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้ว พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุรับไว้ก่อนได้
๔. ข้อควรทราบเกี่ยวกับกับกฐินไม่เป็นอันทอดหรือเป็นโมฆะ เรื่องนี้สำคัญมากควรทราบทั้งผู้ทอดและทั้งฝ่ายพระสงฆ์ผู้รับ เพราะเป็นเรื่องทางพระวินัย คือมักจะมีพระในวัดเที่ยวขอโดยตรงหรือโดยอ้อม ด้วยวาจาบ้าง ด้วยหนังสือบ้าง เชิญชวนให้ไปทอดกฐินในวัดของตน การทำเช่นนั้นเป็นการผิดพระวินัย กฐินไม่เป็นอันกรานนับเป็นโมฆะ ทอดก็ไม่เป็นอันทอด พระผู้รับก็ไม่ได้อานิสงส์ จึงควรระมัดระวัง ทำให้ถูกต้องและแนะนำผู้เข้าใจผิดปฏิบัติผิดทำให้ถูกต้อง
ผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาที่ต้องการทอดกฐิน พึงปฎิบัติดังต่อไปนี้
๑. ในกรณีที่เป็นวัดราษฎร์ ต้องทำการจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว ต้องไปนมัสการสมภารเจ้าวัดนั้นว่าตนมีความประสงค์ จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้นเพื่อให้รู้ ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่นๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่นไปจองก่อน แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง ซึ่งมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว เมื่อได้กราบเรียนเจ้าอาวาสแล้วต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสังฆการี กรมการศาสนา ขอเป็นกฐินพระราชทาน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะทำการจองได้
๒.เมื่อจองกฐินเรียบร้อยแล้ว ถึงเวลาออกพรรษาก็กำหนดให้แน่นอน ช่วยกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และเลี้ยงผู้มาร่วมในการกฐิน เมื่อถึงกำหนดวันทอดกฐินก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือ ไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามแต่กำลังศรัทธามากน้อย ถ้าจัดเต็มที่มักมี ๓ ไตร คือ องค์ครอง ๑ ไตร และไตรคู่สวดอีก ๒ ไตร
๓. พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ โดยมากจัดงานเป็น ๒ วัน วันต้นคือวันที่ตั้งองค์พระกฐิน อาจจะเป็นที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ หรือจะไปตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนอาจจัดให้มีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน รุ่งขึ้นเป็นวัดทอด ตามประเพณีนิยมถ้าไปทางบกก็มีขบวนแห่เดินตามกันไป มีทั้งแตรวงฟ้อนรำ เช่นเดียวกับการแห่งทางเรือ แต่สมัยนี้มักนิยมตั้งองค์กฐินที่วัดที่จะทอดเลยทีเดียว เช้ามาจัดเตรียมพิธี แล้วก็มีการเลี้ยงพระเพล จากนั้นก็ทำพิธีทอดกฐิน ซึ่งอาจจะเป็นเวลาใดของวันนั้นก็แล้วแต่เจ้าภาพและทางวัดจะช่วยกันกำหนด
การถวายผ้ากฐิน เมื่อพระสงฆ์มาประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐิน นั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน ๓ จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้ายสายสิญจน์โยงผ้ากฐินเพื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ซึ่งคำถวายผ้ากฐินอย่างมหานิกายก็ว่า
“ อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม “ (ว่า ๓ หน)
แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แด่พระสงฆ์
ส่วนคำถวายผ้ากฐินอย่างธรรมยุตติกนิกาย ก็ว่า
“ อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินนทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา
จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขายะ “
แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐิน พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลายแด่พระภิกษุสงฆ์ และครั้นรับแล้วขอจงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ
ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า "สาธุ "
เจ้าภาพก็ประเคนผ้าไตรกฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ แล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้วพระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้
พิธีฝ่ายสงฆ์ อปโลกน์กฐิน หมายถึง การที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเสนอขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ถามความเห็นชอบ ว่าควรมีการกรานกฐินหรือไม่ เมื่อเห็นชอบร่วมกันแล้วจึงหารือกันต่อไปว่าผ้าที่ทำสำเร็จแล้วควรถวายแก่ภิกษุรูปใด การปรึกษาหารือ การเสนอความเห็นเช่นนี้เรียกว่า อปโลกน์ (อ่านว่าอะ ปะ โหลก) หมายถึง การช่วยกันมองดูว่า จะสมควรอย่างไร เพียงเท่านี้ยังใช้ไม่ได้ เมื่ออปโลกน์เสร็จแล้วจึงต้องสวดประกาศเป็นการสงฆ์ จึงนับเป็นสังฆกรรม
พิธีกรานกฐิน กรานกฐินเป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะ คือภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้นนำผ้ากฐินไปทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อมแห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร เสร็จแล้วภิกษุรูปหนึ่ง ขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กล่าวถึงเรื่องประวัติกฐินและอานิสงส์ ครั้นแล้วเปล่งวาจาในท่ามกลางชุมนุมนั้น ตามลักษณะผ้าที่กราน ชุมนุมสงฆ์กล่าวอนุโมทนา ต่อแต่นั้นกราบพระ ๓ หน นั่งพับเพียบ สวดปาฐะและคาถาเนื่องด้วยกรานกฐิน จบแล้วก็เป็นเสร็จพิธีการกรานกฐิน
ประเภทของกฐิน
การทำบุญทอดกฐินในประเทศไทยเราได้แบ่งกฐินออกเป็น ๒ ประเภท คือ กฐินหลวง และกฐินราษฎร์
กฐินหลวง ได้แก่ กฐินที่ทำพิธีทอดถวายแด่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษา ณ พระอารามหลวงแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ ๓ ประเภท คือ
๑) กฐินเสด็จพระราชดำเนิน เป็นกฐินหลวงที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปพระราชทานถวายด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปทอดถวายแทน
๒) กฐินต้น เป็นกฐินส่วนพระองค์ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระราชทานแก่วัดใดวัดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ก็ได้
๓) กฐินพระราชทาน เป็นกฐินหลวงที่โปรดพระราชทานให้แก่หน่วยงานข้าราชการ คฤหบดี พ่อค้า และประชาชน ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานผ้ากฐินนำไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวง แห่งใดแห่งหนึ่ง
กฐินราษฎร์ ได้แก่ กฐินที่ราษฎรผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายจัดนำไปทอดถวาย ณ วัดราษฎร์ทั่วไป นิยมแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) มหากฐิน เป็นกฐินที่นิยมจัดเครื่องบริวารกฐินต่างๆ มากมาย
๒) จุลกฐิน เป็นกฐินน้อยหรือกฐินรีบด่วนเพราะมีเวลาจัดเตรียมการน้อย เป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บฝ้ายมากรอเป็นด้าย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ววิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวง ทำในวันกลางเดือน ๑๒ คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน ๑๒ อันเป็นที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐิน คงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่
ธงจระเข้ การที่ธงจระเข้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทอดกฐินนั้น ไม่ปรากฎหลักฐาน แต่มีพูด ๆ กันอยู่ ๒ ประเด็น คือ
๑. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐินมีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้นก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงามทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัง คงหวังจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว
๒. ส่วนอีกหนึ่งเรื่องที่พูดกันก็มาจากนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญ จึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม แล้วก็เลยถือเป็นการปฏิบัติมาจนทุกวันนี้
อานิสงส์กรวดน้ำ
อานิสงส์กรวดน้ำ
ในครั้งหนึ่ง องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เชตะวันมหาวิหาร พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ มีพราหมณ์ผู้หนึ่งอยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น มีทรัพย์สมบัติอยู่ 80 โกฎิ พราหมณ์ผู้นั้นมีบุตรชาย
อยู่คนหนึ่ง เป็นที่รักมากเพราะมีบุตรคนเดียว พอบุตรชายมีอายุได้ประมาณ 17 ปี ก็เกิดโรคาพยาธิมา
เบียดเบียน ก็ถึงซึ่งความตายไป พราหมณ์ผู้เป็นพ่อและแม่ บังเกิดความทุกขเวทยาโทมนัสเศร้าโศก
เสียใจ เพราะอาลัยรักในบุตรที่ตายไปอย่างยิ่ง จึงให้สั่งคนใช้ที่เป็นบริวาร นำเอาศพไปเผาในป่าช้า
และสั่งให้ปลูกศาลาขึ้นหนึ่งหลัง มีเสื่อสาดอาสนะ แล้วจัดทาสคนหนึ่งไปคอยปฏิบัติรักษาอยู่ในป่าช้า
นั้น เพื่อจะได้ส่งข้าวน้ำอาหารเข้าและเย็นให้แก่ลูกชายของตนทุก ๆ วันมิได้ขาด ทำเหมือนกับบุตรชาย
ของตนมีชีวิตอยู่ ทาสผู้นั้นก็ทำตามคำสั่งอยู่เสมอมิได้ขาดเลยสักวันเดียว
ภิกษุสงฆ์ มีพราหมณ์ผู้หนึ่งอยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น มีทรัพย์สมบัติอยู่ 80 โกฎิ พราหมณ์ผู้นั้นมีบุตรชาย
อยู่คนหนึ่ง เป็นที่รักมากเพราะมีบุตรคนเดียว พอบุตรชายมีอายุได้ประมาณ 17 ปี ก็เกิดโรคาพยาธิมา
เบียดเบียน ก็ถึงซึ่งความตายไป พราหมณ์ผู้เป็นพ่อและแม่ บังเกิดความทุกขเวทยาโทมนัสเศร้าโศก
เสียใจ เพราะอาลัยรักในบุตรที่ตายไปอย่างยิ่ง จึงให้สั่งคนใช้ที่เป็นบริวาร นำเอาศพไปเผาในป่าช้า
และสั่งให้ปลูกศาลาขึ้นหนึ่งหลัง มีเสื่อสาดอาสนะ แล้วจัดทาสคนหนึ่งไปคอยปฏิบัติรักษาอยู่ในป่าช้า
นั้น เพื่อจะได้ส่งข้าวน้ำอาหารเข้าและเย็นให้แก่ลูกชายของตนทุก ๆ วันมิได้ขาด ทำเหมือนกับบุตรชาย
ของตนมีชีวิตอยู่ ทาสผู้นั้นก็ทำตามคำสั่งอยู่เสมอมิได้ขาดเลยสักวันเดียว
อยู่มาวันหนึ่ง บังเอิญฝนตกหนักมากน้ำก็ท่วมหนทางที่จะไปนั้นทาสผู้นั้นจะข้ามไปก็ไม่ได้จึงกลับมา
ในระหว่างทางพบพระภิกษุรูปหนึ่งมาบิณฑบาตก็เลยเอาอาหารนั้นใส่บาตรให้เป็นทานแก่พระภิกษุ
แล้วก็กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญนั้นส่งให้แก่ผู้ตาย ลูกชายที่ตายไปนั้นมานิมิตฝันให้พราหมณ์ผู้เป็นพ่อว่า
ข้าพเจ้าได้ตายไปนานแล้วไม่เคยได้กินข้าวเลยสักวันเดียว เพิ่งจะมาได้กินข้าวแต่วันนี้วันเดียวเท่านั้น
ในระหว่างทางพบพระภิกษุรูปหนึ่งมาบิณฑบาตก็เลยเอาอาหารนั้นใส่บาตรให้เป็นทานแก่พระภิกษุ
แล้วก็กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญนั้นส่งให้แก่ผู้ตาย ลูกชายที่ตายไปนั้นมานิมิตฝันให้พราหมณ์ผู้เป็นพ่อว่า
ข้าพเจ้าได้ตายไปนานแล้วไม่เคยได้กินข้าวเลยสักวันเดียว เพิ่งจะมาได้กินข้าวแต่วันนี้วันเดียวเท่านั้น
ครั้นพราหมณ์ผู้เป็นพ่อได้นิมิตฝันอย่างนี้ก็ใช้ให้คนไปตามทาสผู้ไปคอยเฝ้าปฏิบัติมาไถ่ถามดู
ทาสผู้นั้นก็ตอบว่าข้าพเจ้าไปส่งข้าวทุก ๆ วัน แต่วันนี้ข้าพเจ้าไปไม่ได้ฝนตกหนัก น้ำท่วม
ก็กลับมาพบพระภิกษุรูปหนึ่งมาบิณฑบาต
ทาสผู้นั้นก็ตอบว่าข้าพเจ้าไปส่งข้าวทุก ๆ วัน แต่วันนี้ข้าพเจ้าไปไม่ได้ฝนตกหนัก น้ำท่วม
ก็กลับมาพบพระภิกษุรูปหนึ่งมาบิณฑบาต
ข้าพเจ้าก็เลยเอาข้าวนั้นใส่บาตร แก่ภิกษุรูปนั้น แล้วอุทิศส่วนบุญนี้ไปให้บุตรของท่าน บุตรของท่านก็
คงจะได้กินข้าวแต่วันนี้วันเดียวดังนี้แล ครั้นพราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้วก็คิดว่าเราจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
เสียก่อน จะทูลถามพระพุทธเจ้าว่าเป็นอย่างไร พราหมณ์ก็ถือดอกไม้ธูปเทียนของหอมเข้าไปสู่สำนัก
พระพุทธเจ้าแล้วบูชาเครื่องสักการะนั้น แล้วนั่งที่สมควรแก่ตน ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่
องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า คนหญิงชายทั้งหลายในโลกนั้นครั้นเขาตายไปปรโลกแล้วผู้อยู่ภายหลัง
ได้แต่งข้าทาสชายหญิงให้ไปปฏิบัติแล้วปลูกศาลาไว้ให้ เอาเสื่อสาดอาสนะช้างม้าวัวควายไปในป่าชั้น
นั้น จะเป็นอานิสงส์แก่ผู้ภายไปนั้นหรือไม่ พระพุทธเจ้าข้า
คงจะได้กินข้าวแต่วันนี้วันเดียวดังนี้แล ครั้นพราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้วก็คิดว่าเราจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
เสียก่อน จะทูลถามพระพุทธเจ้าว่าเป็นอย่างไร พราหมณ์ก็ถือดอกไม้ธูปเทียนของหอมเข้าไปสู่สำนัก
พระพุทธเจ้าแล้วบูชาเครื่องสักการะนั้น แล้วนั่งที่สมควรแก่ตน ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่
องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า คนหญิงชายทั้งหลายในโลกนั้นครั้นเขาตายไปปรโลกแล้วผู้อยู่ภายหลัง
ได้แต่งข้าทาสชายหญิงให้ไปปฏิบัติแล้วปลูกศาลาไว้ให้ เอาเสื่อสาดอาสนะช้างม้าวัวควายไปในป่าชั้น
นั้น จะเป็นอานิสงส์แก่ผู้ภายไปนั้นหรือไม่ พระพุทธเจ้าข้า
องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสพระธรรมเทศนาว่า ดูกรพราหมณ์จะให้เป็นอานิสงส์แก่ผู้ตายนั้น
ควรถวายสังฆทานให้แก่พระภิกษุสงฆ์สามเณร ตรวจน้ำอุทิศส่วนบุญกุศลที่ตนได้กระทำนั้นให้แก่ผู้ตาย
จึงจะเป็นผลอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ไพศาลผู้ที่ตายไปแล้วนั้นครั้นได้รับส่วนอุทิศอันให้แล้วก็จะพ้นทุกข์
ทั้งมวลนั้นได้อย่างแน่แท้
ควรถวายสังฆทานให้แก่พระภิกษุสงฆ์สามเณร ตรวจน้ำอุทิศส่วนบุญกุศลที่ตนได้กระทำนั้นให้แก่ผู้ตาย
จึงจะเป็นผลอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ไพศาลผู้ที่ตายไปแล้วนั้นครั้นได้รับส่วนอุทิศอันให้แล้วก็จะพ้นทุกข์
ทั้งมวลนั้นได้อย่างแน่แท้
ครั้นพราหมณ์ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วก็ชื่นชมยินดีอย่างมาก แล้วทูลอาราธนาพระพุทธเจ้ากับทั้ง
พระภิกษุสงฆ์ไปสู่บ้านเรือนของตน เพื่อฉันภัตตาหารครั้นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ ฉัน
ภัตตาหารเสร็จ ได้ถวายปัจจัย 4 มี จีวร เป็นต้น แล้วตรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปให้แก่ลูกชายของตน องค์
สมเด็จพระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาว่า ดูกรพราหมณ์ตั้งแต่นี้ต่อไปอย่าได้ไปปฏิบัติ อยู่ในป่าช้านั้นอีกเลย
ท่านจงรักษาศีลภาวนาอย่าได้ขาด บุตรของท่านก็จะได้พ้นทุกข์ ขึ้นไปเสวยสุขอยู่ในสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาจบลงแล้ว บุตรชายของพราหมณ์ผู้ตายไปแล้วนั้นก็พ้นจากเปรตวิสัย
ได้ไปอุบัติบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีวิมานทองสูง 12 โยชน์ มีนางฟ้าเทพอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร
พราหมณ์ผู้เป็นบิดาก็ตั้งอยู่ในศีล 5 ศีล 8 ตราบเท่าสิ้นชีวิตแล้วได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มี
ปราสาททองและเทพกัญญาหนึ่งหมื่นเป็นบริวาร ดังนี้เป็นต้น
พระภิกษุสงฆ์ไปสู่บ้านเรือนของตน เพื่อฉันภัตตาหารครั้นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้ากับพระภิกษุสงฆ์ ฉัน
ภัตตาหารเสร็จ ได้ถวายปัจจัย 4 มี จีวร เป็นต้น แล้วตรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปให้แก่ลูกชายของตน องค์
สมเด็จพระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาว่า ดูกรพราหมณ์ตั้งแต่นี้ต่อไปอย่าได้ไปปฏิบัติ อยู่ในป่าช้านั้นอีกเลย
ท่านจงรักษาศีลภาวนาอย่าได้ขาด บุตรของท่านก็จะได้พ้นทุกข์ ขึ้นไปเสวยสุขอยู่ในสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาจบลงแล้ว บุตรชายของพราหมณ์ผู้ตายไปแล้วนั้นก็พ้นจากเปรตวิสัย
ได้ไปอุบัติบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีวิมานทองสูง 12 โยชน์ มีนางฟ้าเทพอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร
พราหมณ์ผู้เป็นบิดาก็ตั้งอยู่ในศีล 5 ศีล 8 ตราบเท่าสิ้นชีวิตแล้วได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มี
ปราสาททองและเทพกัญญาหนึ่งหมื่นเป็นบริวาร ดังนี้เป็นต้น
วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
อานิสงส์ปิดทองพระพุทธรูป
อานิสงส์ปิดทองพระพุทธรูป
...... นัยว่าพระเจ้ามหารถราช เสวยสมบัติ ในสักกราชาวดีนคร ท้าวท่านเป็นสัมมาทิฎฐิบุคคล
คือมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ตรงกันข้ามกับ พระเจ้าปัญจาลราช กษัตริย์กรุงปัญจาลราชนคร
เป็นมิจฉาทิฎฐิบุคคล คือไม่นับถือพระพุทธศาสนา กษัตริย์ทั้งสองเป็นสหายที่ไม่เคยเห็นหน้ากันเลย
ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปัญจาลราชได้ส่งผ้ารัตนกัมพลผืนหนึ่งไปถวายพระเจ้ามหารถราช
พระเจ้ามหารถราช ทอดพระเนตรเห็นผ้ารัตนกัมพล แล้วจึงตรัสว่าสหายเราส่งผ้าอันมีค่ามากมาให้เรา
เราก็ควรจัดส่งแก้วอันประเสริฐไปให้ตอบแทนพระสหาย ดังนี้ พระเจ้ามหารถจึงคิดว่า เราจะส่งแก้วสิ่ง
ใดหนอซึ่งมีค่ามากเหนือสิ่งอื่นใด พิจารณาแล้วเห็นว่า แก้วใดๆจะประเสริฐกว่าพุทธรัตนะย่อมไม่มี
จึงตกลงใจจะส่งพุทธรัตนะไปถวาย จึงสั่งให้ช่างนำแผ่นทองคำตีเป็นแผ่นบางแล้วให้เขียนรูปพระพุทธเจ้า
ลงไปในแผ่นทองคำด้วยชาตหรคุณมีขนาดองค์ประมาณ 1 ศอก
แล้วสั่งให้อำมาตย์เชิญพระพุทธรูปทองนั้นลงสู่สำเภาเพื่อนำไปถวายพระเจ้าปัญจาลราช ก่อนที่จะส่งราชทูตไป
พระองค์ยกมือขึ้นประณมถวายนมัสการ โดยทรงระลึกถึงองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย พระองค์มีความประสงค์จะสั่งสอนเวไนยสัตว์ในประเทศใดๆ
ขอพระองค์ทรงเสด็จไปยังประเทศนั้นๆ แล้วยังประโยชน์ให้เกิด แก่สัตว์จำพวกนั้นเถิด
พระเจ้าปัญจาลราชสหายของหม่อมฉันเป็นมิจฉาทิฎฐิ มีความเห็นผิดจากทำนองครองธรรม
มิได้มีความเชื่อความเลื่อนใสในพระองค์ ถ้าพระองค์เสด็จไปยังพระนครนั้นแล้ว
ขอพระองค์ได้โปรดแสดงปาฎิหาริย์ทรมานพระเจ้าปัณจาลราชให้ละซึ่งมิจฉาทิฎฐิด้วยเถิด"
อธิษฐานเสร็จแล้วเสด็จลงน้ำประมาณพระศอ(พระพุทธเจ้าอยู่บนเรือ
ท่านจึงลงไปในน้ำซึ่งต่ำกว่า) เพื่อส่งรูปพระพุทธเจ้านั้นไปยังเมืองปัญจาลนคร
ในขณะนั้น บรรดาแก้วอันเกิดในมหาสมุทรมีสีต่างๆก็ผุดขึ้นจากท้องมหาสมุทรลอยอยู่เหนือน้ำเพื่อบูชา
พระพุทธรูปนั้น พื้นน้ำงามวิจิตรด้วยแก้ว 7 ประการประหนึ่งพื้นแห่งภาชนะทอง ดอกปทุมทั้งหลายก็ผุดขึ้น
เหนือพื้นน้ำพญานาคทั้งหลายก็ได้พานาคบริษัทออกจากนาคพิภพขึ้นมาสักการบูชาด้วยสุคันธมาลา เทวดาทั้งหลายก็เรี่ยราย ดอกไม้ทิพย์ลงมาจากอากาศ
เมื่อราชทูตไปถึงกรุงปัญจาลนครแล้ว จึงเข้าไปถวายบังคมพระเจ้าปัญจาล แล้วกราบทูลเหตุอัศจรรย์ ให้
ทราบโดยตลอด ท้าวเธอทรงโสมนัสปรีดาในเครื่องบรรณาการเป็นยิ่งนัก ได้เสด็จออกพร้อมจตุรงคเสนารับสั่ง
ให้ชาวเมืองประโคมแตรสังข์ กังสดาล เสด็จไปยังท่าน้ำ ถวายนมัสการสักการบูชา แล้วเสด็จลงไปในน้ำประมาณพระศอ
ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรูปแล้วทรงยินดีทรงแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
แล้วด้วยอำนาจความศัทธาของพระเจ้าปัญจาลราช และด้วยอำนาจอธิษฐานของพระเจ้ามหารถราช
พระพุทธรูปนั้นก็ลอยขึ้นไปบนอากาศเปล่งรัศมี 6 ประการ
จับพื้นปฐพีตลอดจนถึงพรหมโลก กลบแสงแห่งอาทิคย์ กลบแสงรัศมีเทวดาในหมื่นโลกธาตุ ณ กาลนั้น
ในคราวนั้นพระอินทร์ ได้เสด็จลงมาถวายนมัสการพร้อมด้วยเทพบริษัท มนุษย์ก็เห็นเทวดา เทวดาก็เห็นหมู่มนุษย์
พระเจ้าปัญจาลราชเห็นปาฎิหาริย์เช่นนั้น ทรงโสมนัสยินดียิ่งนักได้นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานในพระมนเทียร
แล้วบูชาด้วยประทีปธูปเทียนชวาลา ทรงแสดงองค์เป็นอุบาสก
ในเวลาต่อมาพระองค์ได้ให้ช่างแกะรูปพระพุทธเจ้าด้วยแก่นจันทน์แล้วประดิษฐานไว้ในศาลาไม้บุณนาค
แล้วรับสั่งให้ชาวเมืองพากันมาปิดทองพระพุทธรูป ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เป็นคนเข็ญใจในเมืองนั้น
เมื่อได้ยินเสียงโฆษณาดังกล่าวแล้วตัดสินใจ อำลาลูกอำลาเมียเพื่อไปขายตัวให้เป็นทาส
แล้วจะได้เงินมาซื้อทองปิดพระพุทธรูป แต่ด้วยความเห็นใจของภรรยา ภรรยาจึงยอมขายตนและลูกเป็นค่าทอง
พระโพธิสัตว์นำลูกเมียไปขายในตระกูลที่มั่งคั่งแล้วนำไปซื้อทอง
ปิดพระพุทธรูป
เมื่อทองไม่พอจึงรำพึง "ใครหนอจักทำเนื้อมนุษย์ ให้เป็นทองได้ เราจักบริจาคตน "
ในครั้งนั้นท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมายืนอยู่ตรงหน้าแสดงตนเป็นช่างทอง ต่อพระโพธิสัตว์
เมื่อทราบว่าช่างทองนั้นสามารถทำเนื้อให้เป็นทองได้จึงประกาศแก่เทพเทวดาขออาวุธเชือดเลือดเนื้อตกลงมา
เมื่อได้ ศัสตราวุธแล้วพระโพธิสัตว์ก็เชือดเนื้อของตนจนตราบเท่าปิดทองสำเร็จ
เกิดความยินดีโสมนัส สลบลงแทบเท้าพระพุทธรูป
พระอินทร์ได้เยียวยาให้หายเป็นปรกติ แล้วเป็นผู้มีกายดุจสีทอง พระอินทร์ตรัสพยากร "
ท่านจัดได้เป็นพระศรีสรรเพชญ์
ในอนาคต " แล้วพระอินทร์ก็กลับสู่วิมาน
พระเจ้าปัญจาลราชพร้อมชาวเมือง ได้ทำการสักการบูชาแก่พระโพธิสัตว์ และแบ่งสมบัติให้พระโพธิสัตว์
เป็นอันมาก ครั้นดับขันธ์แล้วพระโพธิสัตว์ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตเสวยสมบัติอันมโหฬาร
บารมี 30 ทัศ
บารมี 30 ทัศ
บารมีธรรมทั้ง ๑๐ ประการข้างต้นพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบ จะขาดเสียซึ่งข้อใดข้อหนึ่งไปไม่ได้เพราะเป็นการไม่ครบองค์คุณ ซึ่งระดับการปฏิบัติก็สามารถจัดแบ่งได้ตามคุณภาพหรือความเข้มข้นเป็น ๓ ระดับ คือ
๑.ระดับบารมีหรือระดับสามัญ
๒.ระดับอุปบารมี หรือ ระดับกลาง
๓.ระดับปรมัตถบารมี หรือ ระดับสูงสุด
ระดับสามัญ เป็นระดับอันมีความยากลำบากน้อยสุดคือต้องสละวัตถุภายนอก
ระดับปานกลางเป็นระดับอันมีความยากลำบากกว่าระดับแรก คือต้องแลกด้วยอวัยวะทางร่างกายและสุดท้าย
อีกทั้งบุคคลผู้ได้ชื่อว่า เป็นพระโพธิสัตว์ย่อมเห็นพระโพธิญาณ เป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด แม้กระทั่งชีวิต และสิ่งเสมอด้วยชีวิต คือ บุตร และ ภรรยา ไม่ใช่ชีวิตและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตนจะไม่สำคัญ....
แต่เพราะตนเห็นว่า พระโพธิญาณ มีความสำคัญกว่ายิ่งนัก เพราะเป็นหนทางที่จะทำให้ชีวิตทั้งของตนและผู้อื่นพบกับความสุขที่แท้จริงและชั่วนิรันดร์ได้ ดังพุทธดำรัสที่ได้ตรัสในขณะเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรมีความว่า....
....เราสละพ่อชาลีและแม่กัณหาชินา ผู้เป็นบุตรธิดาและพระนางมัทรี เทวีผู้มีจริยาวัตรงดงามไม่คิดถึงเลย เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณนั้นเอง บุตรทั้งสอง…พระเทวีมัทรีเป็นที่น่ารังเกียจก็หาไม่ แต่พระสัมพัญญุตญาณ เป็นที่รักของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงให้บุตรธิดาและภรรยาผู้เป็นที่รัก (๓๓ / ๑๑๘-๑๑๙ / ๗๔๒)
ระดับสูงสุดซึ่งมีความยากลำบากที่สุด เพราะต้องเสียสละซึ่งชีวิตหรือสิ่งเสมอด้วยชีวิต
คุณธรรมหรือพุทธการกธรรม ๑๐ ประการดังกล่าว พระโพธิสัตว์ต้องปฏิบัติได้ทั้ง ๓ ระดับ คือ สามัญ ปานกลาง และสูงสุด
ดังนั้น การบำเพ็ญบารมีอันเป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณเหล่านี้จึงจัดเป็นบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ (๓๓ / ๓๖ / ๓๒)
แม้จะมีความยากลำบากเพียงไร พระโพธิสัตว์ก็สามารถปฏิบัติได้อย่างไม่ขัดเคืองใจ และกลับเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายสำหรับพระโพธิสัตว์ ผู้มุ่งมั่นต่อพระโพธิญาณ
ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสในคราวเสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัตตะ ความว่า....
การที่เราสละชีวิตของตน เป็นของเบา แม้กว่าหญ้า
การล่วงศีลของเรา เป็นเหมือนดังว่า พลิกแผ่นดินขึ้น
(๓๓ / ๑๗ / ๗๔๘)
ความตั้งใจมั่นในการบำเพ็ญซึ่งบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ยอมสละได้แม้ชีวิตตน และสิ่งอันเสมอด้วยชีวิต คือบุตร และภรรยา
จึงเปรียบเสมือนการที่บุคคลได้เผชิญกับโรคร้ายซึ่งเปรียบเสมือนความทุกข์ในวัฏฏสงสาร
แต่มีความประสงค์ที่จะหายขาดจากโรคร้ายนั้นซึ่งเปรียบเสมือนความต้องการที่จะพ้นจากวังวนของวัฏฏสงสาร
ก็จำเป็นที่จะต้องทนทุกข์ทรมานจากการเยียวยาที่มีฤทธิ์แรงครั้งใหญ่
ซึ่งเปรียบเสมือนกับความกล้าหาญในการบำเพ็ญบารมีแม้ต้องสละชีวิต เพื่อกลับสู่ภาวะปกติทางร่างกายและมีความสุขดังเดิมตลอดไป
ซึ่งเปรียบเสมือนกับการบรรลุถึงพุทธภาวะซึ่งหมายถึงการเข้าสู่นิพพานฉะนั้น
จากการได้ศึกษาข้างต้นจะเห็นได้ว่า....
บุคคลผู้ได้ชื่อว่า เป็นพระโพธิสัตว์นั้นคือผู้ดำเนินชีวิตเพื่ออุทิศตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างแท้จริง ปณิธาน ๔ ประการ คือ
เครื่องยืนยันถึงความหมายข้อนี้ การยอมเสียสละตนเพื่อสรรพสัตว์ของพระโพธิสัตว์
มิใช่ เกิดมีขึ้นเพียงคราวใดคราวหนึ่ง ในบรรดา ๒ คราว
กล่าวคือ ในคราวเป็นพระโพธิสัตว์กำลังบำเพ็ญบารมี พระโพธิสัตว์ก็ทรงมีกรุณาธรรมอันไร้ขอบเขต แก่ปวงสัตว์ผู้ทุกข์ยาก และในคราวเมื่อได้ตรัสรู้ธรรรมเป็นพระพุทธเจ้าแล้วพระโพธิสัตว์ ก็มิได้ทอดทิ้งสัตว์โลกผู้มืดบอดไปด้วยอวิชชา ให้เผชิญกับความทุกข์ของชีวิต
แต่พระโพธิสัตว์ก็ได้ชี้หนทางเครื่องพ้นจากวังวนแห่งความทุกข์ แก่มวลสัตว์ ด้วยมหากรุณาคุณ พระโพธิสัตว์ หาใช่อาศัยบารมีธรรมที่ตนได้บำเพ็ญช่วยเหลือสรรพสัตว์ เพื่อการบรรลุพระโพธิญาณแล้ว เสวยโลกุตตรสุขแต่เพียงผู้เดียวไม่ แต่เจตจำนงของพระโพธิสัตว์ในชั้นแรก คือการบำเพ็ญตนช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อให้เป็นบารมีธรรมที่สมบูรณ์
อันเป็นเครื่องค้ำหนุนให้ตนบรรลุพระสัพพัญญุตญุตญาณก่อน แล้วจึงดำเนินการช่วยเหลือสัตว์ทั้งปวงให้บรรลุความสุขอันเป็นความสุขอย่างแท้จริงเหมือนที่ตนได้บรรลุถึงเป็นชั้นที่สองต่อไป
จุดมุ่งหมายสูงสุดในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ คือ การได้บรรลุถึงพุทธภาวะอันได้แก่การได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า การเข้าถึงพุทธภาวะเป็นสิ่งพึงปรารถนาของพระโพธิสัตว์ เพราะความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นอุดมภูมิที่อยู่ในอุดมคติของพระโพธิสัตว์ทุกองค์ การบำเพ็ญบารมีทุกครั้งพระโพธิสัตว์จะปรารภถึงพุทธภูมิเป็นเหตุแห่งการกระทำดังตัวอย่างพุทธดำรัสที่ตรัสในคราวเป็น อกิตติดาบสโพธิสัตว์ความมีว่า
เมื่อเราให้ทานแก่อินทพราหมณ์นั้น เราจะได้ปรารถนายศและลาภ ก็หามิได้
แต่เราปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น จึงได้ประพฤติกรรมเหล่านั้น ฉะนี้ แล (๓๓ / ๑๐ / ๗๒๘)
การบำเพ็ญบารมีแต่ละคราวนั้น พระโพธิสัตว์มิได้หวังผลอย่างอื่น เป็นจุดมุ่งหมายหลักอันเบี่ยงไปจากความปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า ความปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณก็คือ ความปรารถนาความสุขให้เกิดแก่มวลสรรพสัตว์
เพราะการหวังที่จะได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ คือ ความต้องการที่ช่วยเหลือสัตว์ทั้งมวลให้พ้นจากทุกข์อันเป็นทุกข์ประจำ คือ ชาติ ชรา มรณะ อย่างถูกวิธี
แต่ทั้งนี้พระโพธิสัตว์มีความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือตัวเองพัฒนาตัวเองให้สามารถเป็นที่พึ่งของตัวเองได้เสียก่อน จึงจะสามารถแนะนำหรือช่วยเหลือผู้อื่นได้
อุปมาเหมือนบุคคลจะช่วยเหลือผู้อื่นขึ้นจากตมได้นั้น จะต้องช่วยเหลือตัวเองให้พ้นจากตมนั้นเสียก่อน
ฉะนั้น พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีธรรมทั้งหลาย ด้วยมีความปราถนาพระโพธิญาณเป็นเหตุปรารภทำให้พระโพธิสัตว์มีความมุ่งมั่นจริงใจต่อวัตรปฏิบัติในบารมี
ในขณะเดียวกันบารมีธรรมทั้งหลายก็เป็นเหตุแห่งความสัมฤทธิ์ คือ การบรรลุพระโพธิญาณ
จึงกล่าวได้ว่า การบำเพ็ญบารมีธรรมกับความใคร่ปรารถนาซึ่งพระโพธิญาณเป็นเหตุปัจจัยหนุนเนื่องแก่กันและกันให้เกิดขึ้น
อนึ่ง เมื่อกล่าวถึงจุดมุ่งหมายแห่งการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์แล้ว จะเห็นได้ว่าย่อมเป็นไปเพื่อ
๑. การตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระโพธิสัตว์เองก่อน
๒. การรื้อขนปวงชนทั้งหลายทั้งปวงออกไปจากห้วงทุกข์ระทมแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
(บุณย์ นิลเกษ, ๒๕๓๔ ก: ๔๒)
จุดมุ่งหมายทั้งสองนี้เป็นสิ่งที่บุคคลผู้เป็นพระโพธิสัตว์มีเหมือนกัน เพราะพระโพธิสัตว์ทุกองค์ได้ชื่อว่าเป็นนิยตโพธิสัตว์คือสัตว์ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน หากไม่ละทิ้งความพยายามเสียในระหว่าง และจะต้องทำหน้าที่ของความเป็นพระโพธิสัตว์ ผู้ก้าวเข้าสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์จะต้องอยู่ในระเบียบปฏิบัติเหล่านี้
ที่มา : พระมหาจู่ล้อม ชูเลื่อน. (๒๕๔๖). ความกล้าหาญทางจริยธรรมในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในทศชาติชาดก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจริยศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
พระอนาคตวงศ์
พระอนาคตวงศ์
นานไปเบื้องหน้าพระโพธิสัตว์ทั้ง ๑๐ พระองค์นั้น จะได้ตรัสรู้แด่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณเป็นลำดับกันฯ คือ
- องค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้าเป็นปฐมที่ ๑
- ถัดนั้นจึง พระรามโพธิสัตว์จะได้ตรัสที่ ๒
- ถัดนั้นจึง พระเจ้าปเสนธิโกศลจะได้ตรัสเป็นพระธรรมราชาที่ ๓
- ถัดนั้น พระยามาราธิราช จะได้ตรัสเป็นพระธรรมสามีที่ ๔
- ถัดนั้น อสุรินทราหู จะได้ตรัสเป็นพระนารทะที่ ๕
- ถัดนั้น โสณพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระรังสีมุนีที่ ๖
- ถัดนั้น สุภพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระเทวเทพที่ ๗
- ถัดนั้น โตไทยพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระนรสีหะที่ ๘
- ถัดนั้น ช้างธนบาลหัตถีนาฬาคีรี จะได้ตรัสเป็นพระติสสะที่ ๙
- ถัดนั้น ช้างปาลิไลยหัตถี จะได้ตรัสเป็นพระสุมงคลที่ ๑๐
พระองค์ได้ตรัสเป็นลำดับกันโดยนิยมดังนี้
อันว่าไม้พระศรีมหาโพธิอปราชิตบัลลังค์ที่นั่งทรงพิจารณาพระปฏิจจสมุปบาทธรรม แล้วตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูเจ้านั้น
- พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า คือไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๑
- พระรามเจ้า คือ ไม้แก่นจันทร์แดงเป็นที่ตรัส ๒
- พระธรรมราชาเจ้า คือ ไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๓
- พระธรรมสามีเจ้า คือ ไม้รังใหญ่เป็นที่ตรัส ๔
- พระนารทะเจ้า คือ ไม้แก่นจันทร์แดงเป็นที่ตรัส ๕
- พระรังสีมุนีเจ้า คือ ไม้ดีปลีใหญ่เป็นที่ตรัส ๖ (บางคัมภีร์ว่าเป็นไม้เลียบ)
- พระเทวเทพเจ้า คือ ไม้จำปาเป็นที่ตรัส ๗
- พระนรสีหะเจ้า คือ ไม้แคฝอยเป็นที่ตรัส ๘
- พระติสสะเจ้า คือ ไม้ไทรเป็นที่ตรัส ๙
- พระสุมงคลเจ้า คือ ไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๑๐
อันว่าไม้พระมหาโพธิ ๑๐ ต้นนี้ เป็นที่ได้ตรัสรู้พระสัพพัญญูแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ พระองค์ อันจะบังเกิดในอนาคตกาลเบื้องหน้าฯ
อันว่านรชาติหญิงชายทั้งหลายจำพวกใด ได้ถวายนมัสการกราบไหว้ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งสิบพระองค์
กับทั้งไม้พระศรีมหาโพธิ ๑๐ ต้น ดังพรรณนามานี้ อันว่านรชาติหญิงชายจำพวกนั้นจะมีผลานิสงส์คือ
มิได้ไปบังเกิดในนรกสิ้นกาลช้านานถึงแสนกัปป์ ด้วยกุศลเจตนาของอาตมาที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งสิบพระองค์นั้นฯ
สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้าของเราทรงบัณฑูรพระธรรมเทศนาว่า
แท้จริงกัปป์ที่เรียกสุญญกัปนั้น คือเปล่าเสียจากท่านผู้ทรงพระคุณ
กัปป์ที่มิได้สูญจากท่านผู้ทรงพระคุณนั้นมี ๕ ประการ คือ
- สารกัปป์ ๑
- มัณฑกัปป์ ๑
- วรกัปป์ ๑
- สารมัณฑกัปป์ ๑
- ภัทรกัปป์ ๑
อันว่าแผ่นดินทั้ง ๕ ประการนี้ มีสมเด็จพระพุทธเจ้าบังเกิดในสารกัปนั้น ๑ พระองค์,
ในมัณฑกัปป์ ๒ พระองค์,
ในวรกัปป์ ๓ พระองค์,
ในสารมัณฑกัปป์ ๔ พระองค์,
ในภัทรกัปป์ ๕ พระองค์ เหมือนกับแผ่นดินเราทุกวันนี้
ชื่อว่าภัทรกัปบังเกิดพระพุทธเจ้าถึง ๕ พระองค์ฯ คือ
- พระกุกกุสนธเจ้าพระองค์ ๑
- พระโกนาคมนเจ้าพระองค์ ๑
- พระกัสสปเจ้าพระองค์ ๑
- พระพุทธเจ้าของเราอันทรงพระนามว่า พระศรีศากยมุนีโคดมพระองค์ ๑
- ไปในอนาคตเบื้องหน้า พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ซึ่งจะได้มาตรัสนั้น พระองค์ ๑
เป็นพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ด้วยกัน บังเกิดในภัทรกัปอันนี้ฯ
เมื่อองค์สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ตรัสแล้วล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน
สิ้นพระศาสนาของพระองค์เจ้าแล้วล่วงไปจนถึงไฟประลัยโลก สิ้นแผ่นดินแผ่นฟ้าตลอดกาลช้านาน
จึงบังเกิดแผ่นดินขึ้นมาใหม่เรียกว่า สุญญกัปป์ เปล่าเสียจากท่านผู้ทรงพระคุณวิเศษนั้นนานถึงอสงไขยแผ่นดิน
โลกทั้งหลายมืดสิ้นไม่มีท่านผู้วิเศษเลย ต่อสิ้นกาลช้านานแห่งสุญญกัปป์นั้น
นับได้อสงไขยแผ่นดินล่วงไปแล้ว เกิดกัปใหม่ตั้งแผ่นดินขึ้นใหม่เรียกว่ามัณฑกัปป์
จะมีสมเด็จพระพุทธเจ้า พระปัจเจกโพธิเจ้า และสมเด็จบรมจักร
ในกาลครั้งนั้นจึงมีพระรามเจ้าเป็นอาทิจะได้ตรัสรู้ก่อนพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลายที่สมควรจะได้ตรัสนั้น
ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบๆ กันไปตามนัยดังแสดงแล้วแต่หนหลัง
ด้วยวาสนาภูมิบารมีของพระบรมโพธิสัตว์สร้างมานั้นต่างๆกัน
- ที่เป็นอุคฆติตัญญูโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๔ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า ปัญญาธิกะ ยิ่งด้วยปัญญาฯ
- ที่เป็นวิปจิตัญญูโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๘ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า สัทธาธิกะ ยิ่งด้วยศรัทธาฯ
- ที่เป็นเนยยโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๑๖ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า วิริยาธิกะ ยิ่งด้วยความเพียรฯ
...........ที่มาของข้อมูล พระอนาคตวงศ์ พระสุตตันตปิฎก. รวบรวมเรียบเรียงโดยเวปหลวงปู่ดู่ www.prommapanyo.com
ประวัติย่อพระพุทธเจ้า 28 พระองค์
ประวัติย่อพระพุทธเจ้า 28 พระองค์
๑.. พระพุทธเจ้าตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ
๒. พระพุทธเจ้าเมธังกร - ยศใหญ่
๓. พระพุทธเจ้าสรณังกร - ผู้เกื้อกูลแก่โลก
๔. พระพุทธเจ้าทีปังกร - ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
๕. พระพุทธเจ้าโกณฑัญญะ - ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
๖. พระพุทธเจ้าสุมังคละ - ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
๗. พระพุทธเจ้าสมุนะ - ผู้เป็นธรีบุรุษมีพระหทัยงาม
๘. พระพุทธเจ้าเรวัต - ผู้เพิ่มพูนความยินดี
๙. พระพุทธเจ้าโสภิตะ - ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
๑๐. พระพุทธเจ้าอโนมัทสส - ผู้อุดมอยู่ในหมู่ชน
๑๑. พระพุทธเจ้าปทุมะ - ผู้ทำให้โลกสว่าง
๑๒. พระพุทธเจ้านารทะ - ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
๑๓. พระพุทธเจ้าปทุมุตตระ - ผู้เป็นที่พึ่งแก่หมู่สัตว์
๑๔. พระพุทธเจ้าสุเมธะ - ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
๑๕. พระพุทธเจ้าสุชาติ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
๑๖. พระพุทธเจ้าปิยทัสสี - ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
๑๗. พระพุทธเจ้าอัตถทัสสี - ผู้มีพระกรุณา
๑๘. พระพุทธเจ้าธัมมทัสสี - ผู้บรรเท่ามืด
๑๙. พระพุทธเจ้าสิทธัตถะ - ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
๒๐. พระพุทธเจ้าติสสะ - ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
๒๑. พระพุทธเจ้าปุสสะ - ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
๒๒. พระพุทธเจ้าวิปัสสี - ผู้หาที่เปรียบมิได้
๒๓. พระพุทธเจ้าสิขี - ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
๒๔. พระพุทธเจ้าเวสสภู - ผู้ประทานความสุข
๒๕. พระพุทธเจ้ากกุสันธะ - ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส
๒๖. พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ - ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
๒๗. พระพุทธเจ้ากัสสปะ - ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
๒๘. พระพุทธเจ้าโคตมะ (พระสมณะโคดม) - ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากย
---------------
1. องค์สมเด็จพระพุทธตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้านันทราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทราชาเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี
2. องค์สมเด็จพระพุทธเมธังกร – ผู้มียศใหญ่
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า เทโว
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยะสุนทราชาเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 80,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
3. องค์สมเด็จพระพุทธสรณังกร – ผู้เกื้อกูลแก่โลก
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุมาเลราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยสะเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 2 เดือน กับ 20 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
4. องค์สมเด็จพระพุทธทีปังกร – ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 8 อาสาฬหนักขัตฤกษ์
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า นรเทวราช(พระเจ้าสุเทพ)
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สุเมธา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ปทุมาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอสุภขันธกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 9 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปิปผลิ
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมังคลเถร และพระติสสเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสาคตเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนันทาเถรี และพระสุนันทาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ตปุสสะ และภัลลิกะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฎฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางโสณา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
อายุพระศาสนา 100,000 ปี
5. องค์สมเด็จพระพุทธพระโกณฑัญญะ – ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุนันทราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุชาดาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง รุจิราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระวิชิตเสนกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนยคู่
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 58 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นพญารัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททเถร และพระสุภัททเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอนุรุทธเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระติสสาเถรี และพระอุปัสสนาเถรี
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน แสนโกฏิ องค์
พระวรกายสูง 18 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 200,000 (แก้ว่าน่าจะเป็น100,000) ปี
อายุพระศาสนา 100,000 ปี
6. องค์สมเด็จพระพุทธพระสุมังคละ – ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
สถานที่ประสูติ อุตตรนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อุตตรมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอุตตรราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ยสาวดี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสีวระราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวเถร และพระธรรมเสนเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวราเถรี และพระอโสกาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทะ และวิสาขะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อนุฬา และสุมนา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,00 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
7. องค์สมเด็จพระพุทธสุมนะ – ผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหทัยงาม
สถานที่ประสูติ เมขละนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัตตมหาราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สิริมา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ฏังสกี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปมราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ อยู่นาน 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 60 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสรณเถร และพระภาวิตัตตเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณาเถรี และพระอุปโสณาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จารา และอุปจารา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 90 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 90,000 ปี
8. องค์สมเด็จพระพุทธเรวตะ – ผู้เพิ่มพูนความยินดี
สถานที่ประสูติ สุธัญญวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าวิปุลราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางวิปุลาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุทัสนา
พระราชโอรส พระนามว่า พระวรุณราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 6,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียบม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระวรุณเถร และพรหมเทวะเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททราเถรี และพระสุภัททราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณ และสรภะมหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า ปาลา และอุปปาลา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
9. องค์สมเด็จพระพุทธโสภิตะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
สถานที่ประสูติ สุธรรมนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุธรรมราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุธรรมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง มจิลาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสีหราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์ (ไม้กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระอสมเถร และ สุเมธเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอโนมเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุฬาเถรี และพระสุชาตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายรัมมะ และ นายสุเนตตะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนกุฬา และนางสุชาตา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
10. องค์สมเด็จพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า – ผู้อุดมสูงสุดในหมู่ชน
สถานที่ประสูติ จันทวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า ยศวราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยโสธรา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สิริมา
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปสารราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นอชุนะ (ไม้รกฟ้า)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระนิสภเถร และอโนมเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวรุณเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุนทราเถรี และพระสุมนาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายนันทิวัฒนะ และสิริวัฑฒะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอุปรา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 80 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
11.องค์สมเด็จพระพุทธปทุมะ – ผู้ทำให้โลกสว่าง
สถานที่ประสูติ จัมปานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อสมราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอสมาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง อุตตราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระรัมมราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาส อยู่ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสาลเถร และพระอุปสาลเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราธาเถรี และพระสุราธาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายสภิยะ และนายอสมะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรุจิ และนางนันทิมาลา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
12. องค์สมเด็จพระพุทธนารทะ – ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
สถานที่ประสูติ ธัญญวดีมหานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุเมธราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอโนมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ว ิชิตเสนาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระยันทุตรราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ทรงดำเนินไปด้วยพระองค์เอง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน ตรง
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททสาลเถร และพระพิชิตมิตตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวาเสฏฐเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอุตตราเถรี และพระผักขุนีเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุตรินท์ และวสะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอินทอรี และนางคัณฑี มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
พระวรกายสูง 88 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 1 อสงไขย
13. องค์สมเด็จพระพุทธปทุมุตระ – ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
สถานที่ประสูติ หงสวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อานันทมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุชาดาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุละทัคคเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุตตรราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 90,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นสาละ หรือต้นรัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวลเถร และพระสุชาตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุมนเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอมิตตาเถรี และพระอสมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อมิตตะ และติสสะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางหัตถา และนางสุจิตตา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 12 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
อายุพระศาสนา 30,000 กัลป์
14. องค์สมเด็จพระพุทธสุเมธะ – ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
สถานที่ประสูติ สุทัสสนนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัสสนมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัตตาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุมนาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระปุนัพพราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหานิมพะ (ไม้สะเดา)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมนเถร และพระสัพพกามเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสาครเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุรมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุรุเวฬ และยสวา มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางยสา และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 88 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
15. องค์สมเด็จพระพุทธสุชาตะ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
สถานที่ประสูติ สุมังคลนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุคคตราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสิรินันทาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปเสนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง ชื่อ หังสวาสภราชา
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 33 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหาเวฬุ (ไม้ไผ่ใหญ่)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 9 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุสุทัสสนเถร และพระสุเทวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระนารทเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระนาคาเถรี และพระนาคสมาราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุทัตต และจิตต มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสุภัททา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 50 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลกาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
16. องค์สมเด็จพระพุทธปิยทัสสี – ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
สถานที่ประสูติ สุธัญญราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางจันทราราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิมาลาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระกัญจนเวฬกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้กุ่ม
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระปาลิตเถร และพระสัพพทัสสีเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุชาดาเถรี และพระธัมมทินนาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สันตกะ และธัมมิก มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิสาขา และนางธัมมทินนา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
17. องค์สมเด็จพระพุทธอัตถทัสสี – ผู้มีพระกรุณา
สถานที่ประสูติ สุจิรัตถราชอุทยานแห่งสาครราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสาครราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิสาขาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระเสลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้จำปา
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสันตเถร และพระอุปสันตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอภัยเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระธรรมาเถรี และพระสุธรรมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นกุละ และนิสภะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางมจิลา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 9 โกฏิ
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 100 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
18. องค์สมเด็จพระพุทธธรรมทัสสี – ผู้บรรเทามืด
สถานที่ประสูติ สรณราชอุทยานแห่งสรณราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสรณราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิจิโกลี
พระราชโอรส พระนามว่า พระวัฒนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ไทรย้อย
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระปทุมเถร และปุสสเทวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุเนตตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระสัจจนามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุภัททะ และกฏิสหะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสาฬสา และนางกฬิสสา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
19. องค์สมเด็จพระพุทธสิทธัตถะ – ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
สถานที่ประสูติ เวภารนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุผัสสาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นกรรณิการ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสัมพลเถร และพระสุมิตตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเรวตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสิวลาเถรี และพระสุรามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุปิยะ และสัมพุทธะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรัมมา และนางสุรัมมา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 โกฏิ
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
20. องค์สมเด็จพระพุทธติสสะ – ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
สถานที่ประสูติ อโนมราชอุทยานแห่งเขมราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชนสันธราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปทุมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุภัทราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อาสนะ (ต้นประดู่)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระพรหมเทพเถร และพระอุทัยเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัมภวเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระปุสสาเถรี และพระสุทัตตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สัมภระ และสิริ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางกีสาโคตมี และนางอุปเสนา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
21. องค์สมเด็จพระพุทธปุสสะ – ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
สถานที่ประสูติ กาสีราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางกีสาโคตมีราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มลกะ (ไม้มะขามป้อม)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุรักขิตเถร และพระธัมมเสนเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิยเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจาลาเถรี และพระอุปจาลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายธนัญชัย และนายวิสาข มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางปทุมา และนางสิรินาคา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 91 กัลป์
22. องค์สมเด็จพระพุทธวิปัสสี – ผู้หาที่เปรียบมิได้
สถานที่ประสูติ พันธุมดีราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าพันธุมหาราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางพันธุมดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสมวัตตขันธราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้แคฝอย
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระขันธเถร และพระติสสเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอโสกเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจันทราเถรี และพระจันทมิตตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ปุณณสุมิตต และนาคะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 84,000 องค์
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 7 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80,000 ปี
อายุพระศาสนา 49 กัลป์
23. องค์สมเด็จพระพุทธสิขี – ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สัตว์
สถานที่ประสูติ มิสกราชอุทยานแห่งอรุณวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอรุณราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสัพพกามาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอตุลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 7,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 24 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปุณฑริกะ (ไม้ซึก) คล้ายกับไม้ปาตลี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระอภิภูเถร และพระสัมภวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเขมังกรเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระประทุมเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สิริวัฒนะ และนันทะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางจิตรา และนางสุจิตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 70,000 องค์
พระวรกายสูง 70 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 3 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
24. องค์สมเด็จพระพุทธเวสสภู – ผู้ประทานความสุข
สถานที่ประสูติ อโนมนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุปตีตราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยสวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุจิตราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสุปปพุทธราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 6,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้รัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระโสณเถร และพระอุตตรเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอุปสันตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุมาลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า โสตถิกะ และรัมมะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางโคตมี และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
อายุพระศาสนา 70,000 ปี
25. องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ – ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส
สถานที่ประสูติ เขมวันราชอุทยานแห่งเขมนคร
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า วิสาขาพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า โสภิณีพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า อุตตรกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 4,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถเทียมม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 80 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ซึกใหญ่
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระวิธูรเถร และพระสัญชีวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระพุทธิยะเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสามาเถรี และพระจัมปนามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคาตะ และสุมนะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 08, 2010, 07:20:59 PM โดย admin » บันทึกการเข้า
noii
Full Member
กระทู้: 100
Re: ประวัติย่อพระพุทธเจ้า 28 พระองค์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 07:13:27 PM »
25. องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ – ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส
สถานที่ประสูติ เขมวันราชอุทยานแห่งเขมนคร
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า วิสาขาพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า โสภิณีพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า อุตตรกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 4,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถเทียมม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 80 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ซึกใหญ่
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระวิธูรเถร และพระสัญชีวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระพุทธิยะเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสามาเถรี และพระจัมปนามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคาตะ และสุมนะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
พระวรกายสูง 40 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 11 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 40,000 ปี
26. องค์สมเด็จพระพุทธโกนาคมนะ – ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
สถานที่ประสูติ โสภวดีราชอุทยานแห่งโสภวดีนคร
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า ยัญญทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า อุตตราพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า รุจิคัตตาพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า สัททวาหกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 3,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อุทุมพร (ไม้มะเดื่อ)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภิโยสเถร และพระอุตตรเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสทิชเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสมุทาเถรี และพระอุตตราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทว มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวรา และนางสามา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 30,000 องค์
พระวรกายสูง 30 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 30,000 ปี
27. องค์สมเด็จพระพุทธกัสสปะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
สถานที่ประสูติ อิสิปตนมิคทายวันแห่งนครพาราณสี
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พรหมทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า ธนวดีพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า สุนันทาพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า วิชิตเสนกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 2,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 15 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้นิโครธ
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระภารทวาชเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัพพมิตตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอนุฬาเถรี และพระอุรุเวลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุมังคละ และฆฏิการะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิชิตเสนา และนางภัตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 1 โกฏิ
พระวรกายสูง 20 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี
28. องค์สมเด็จพระพุทธโคตมะ – ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช
สถานที่ประสูติ กรุงกบิลพัสดุ์
ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 6
ประสูติในตระกูล กษัตริย์ แห่งศากยวงศ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมหามายา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางยโสธรา
พระราชโอรส พระนามว่า พระราหุลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 29 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าอัศวราช
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 14 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อัสสัตถะ (ไม้ปาเป้ง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 ปี
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระโกลิตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอานนทเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระอุบลวัณณาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถอาฬวก มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทมาตา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 16 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 ปี
อายุพระศาสนา 5,000 ปี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)